แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ มณีรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ภริมา วินิธาสถิตย์กุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ทรรศนัย โกวิทยากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเรียนรู้, เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้, เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนของไทย อยู่ภายใต้คำว่า “เสมอภาคและเท่าเทียม” ทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป บทความวิชาการนี้นำเสนอความรู้ที่นำไปสู่แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่อาศัยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยให้ประสาทการรับรู้ทางการ  ได้ยินดีขึ้น และกลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงจะต้องอาศัยทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และการใช้ภาษามือในการช่วยสื่อสาร และต้องการการศึกษาพิเศษ 2) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของไทย ได้แก่ การจัดการศึกษาแบบเน้นการฟังเป็นฐาน และการเรียนการสอนแบบเน้นการใช้สายตาเป็นฐาน และ 3) กระบวนการสร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นการนำสื่อต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับภาษามือเพื่อการสื่อสารอีกด้วย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พรบ.-การจัดการศึกษา-ฉ1.pdf.

เจนจิรา แก้วประสิทธิ์. (2560). โลกของคนหูหนวก: ภาษากับชีวิตประจำวัน. รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2553). การพัฒนาความสามารถอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยใช้วิธีการแผนที่ความคิด (Mind Map) ร่วมกับแบบฝึกประกอบภาษามือ. รายงานวิจัย สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทักษิณา สุขพัทธี. (2560). รูปแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกในผู้บกพร่องทางการได้ยิน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 23(2), 21-33.

พฤกษา เครือแสง. (2558). คุณภาพการศึกษาไทยกับมาตรฐานการบริการสาธารณะของรัฐ. วารสารนักบริหาร, 35(2), 46-60.

พรรณวดี ปัญจพรผล. (2551). การออกแบบสื่อปฎิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต, คณะมัณฑนศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

พัชราภา โพธิ์อ่อง. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital HR) กับการเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรในองค์การธุรกิจค้าปลีก. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 151-162.

บรรพต พิจิตรกำเนิด. (2564). ห้องเรียนออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเรียนรวมในรายวิชาปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์เป็นฐาน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาลัยมหาสารคาม, 4(10), 7-17.

ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพึ่งตนเองของผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ.

มลิวัลย์ ธรรมแสง และชนิดา มิตรานันท์. (2561). คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตามทัศนะและประสบการณ์ของผู้ปกครอง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 35-48.

มานะ ประทีปพรศักดิ์. (2548). สื่อการเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวก. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 1(2), 28-36.

ศศิวิมล คงสุวรรณ และเบญจมาภรณ์ ฤาไชย. (2563). การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย: สภาพปัญหา รูปแบบ และกระบวนการสอนแบบสองภาษา. วารสารมังรายสาร, 8(1), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023