ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาเซปักตะกร้อ
คำสำคัญ:
การฝึกพลัยโอเมตริก, ความเร็ว, ความคล่องแคล่ว, พลังกล้ามเนื้อขา, นักกีฬาเซปักตะกร้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อชาย อายุระหว่าง 18 - 22 ปี จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน โดยกลุ่มทดลองฝึกพลัยโอเมตริก และกลุ่มควบคุมฝึกโปรแกรมปกติ ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ ใช้ระยะเวลาฝึกครั้งละ 50 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขา ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียวแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธี Least square difference (LSD) และทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มทดลอง มีค่ามากกว่าก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มทดลอง มีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากข้อมูลที่ปรากฏจึงสรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริก 8 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความเร็ว ความคล่องแคล่ว และพลังกล้ามเนื้อขาได้
References
จักรกฤษณ์ พิเดช. (2561). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อส่วนบนในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนชาย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.
เจริญสุข อ่าวอุดมพันธุ์. (2563). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้านที่มีต่อความเร็ว และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยานันท์ โสพิน (2563). ผลการฝึกความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อควบคู่การฝึกทักษะที่มีต่อความสามารถของการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านในของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, คณะพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพรัช ทศคำไชย, ชาญชัย ชอบธรรมสกุล และรัตนา เฮงสวัสดิ์. (2562). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยเทคนิค Jump Over Barrier ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของผู้เรียนวิชายิมนาสติก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 140-150.
วรเชษฐ์ จันติยะ, ประทุม ม่วงมี และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2563). ผลของการฝึกระหว่างพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็วและความสามารถในการกระโดด. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 235-250.
สุขสวัสดิ์ แย้มศรี, รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน และภานุ ศรีวิสุทธิ์. (2564). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาดาบไทย. วารสารวิชาการ, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 227-237.
อลิสา ลิ้มสำราญ. (2563). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกและการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่ความคล่องแคล่วว่องไวที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬากาบัดดี้. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, คณะพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Chen, L., Zhang, Z., Huang, Z., Yang, Q., Gao, C., Ji, H., ... & Li, D. (2023). Meta-Analysis of the Effects of Plyometric Training on Lower Limb Explosive Strength in Adolescent Athletes. International Journal of Environmental Research and Public Health, 20(3), 1849.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences, (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Kenney, W. L., Wilmore, J. H., & Costill, D. L. (2021). Physiology of sport and exercise. (8th ed.). United states of America: Human kinetics.
Kraemer, W. J., Fleck, S. J., & Deschenes, M. R. (2021). Exercise physiology: Integrating theory and application, (3rd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
McArdle, W. D., Katch, F. I., & Katch, V. L. (2010). Exercise physiology: nutrition, energy, and human performance, (9th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Ojeda-Aravena, A., Herrera-Valenzuela, T., Valdés-Badilla, P., Báez-San Martín, E., Thapa, R. K., & Ramirez-Campillo, R. (2023). A systematic review with meta-analysis on the effects of plyometric-jump training on the physical fitness of combat sport athletes. Sports, 11(2), 33.
Ramírez-delaCruz, M., Bravo-Sánchez, A., Esteban-García, P., Jiménez, F., & Abián-Vicén, J. (2022). Effects of plyometric training on lower body muscle architecture, tendon structure, stiffness and physical performance: a systematic review and meta-analysis. Sports medicine-open, 8(1), 1-29.
Silva, A. F., Clemente, F. M., Lima, R., Nikolaidis, P. T., Rosemann, T., & Knechtle, B. (2019). The effect of plyometric training in volleyball players: A systematic review. International journal of environmental research and public health, 16(16), 2960.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา