การศึกษาเชิงคุณภาพผลกระทบและความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ แสนธิ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผลกระทบ, ความคาดหวัง, การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบและค้นหาความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2564 โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 56 คน ประกอบด้วยนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน ครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม QDA Miner lite โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เกิดผลกระทบดังนี้ (1) ด้านร่างกาย นักเรียนมีปัญหาด้านร่างกายจากการออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาด้านสายตา (2) ด้านจิตใจมีความเครียดจากรูปแบบการเรียนและความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ (3) ด้านการเรียน นักเรียนมีความยากลำบากในการเรียนรู้มากขึ้น มีสมาธิต่อการเรียนน้อยลง และผู้ปกครองมีสมาธิต่อการทำงานน้อยลง   เพราะต้องดูแลนักเรียนมากขึ้น (4) ด้านการเงิน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และ (5) ด้านสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างทุกกลุ่มน้อยลง และผู้บังคับบัญชาไม่เข้าใจผู้ปกครองที่ต้องดูแลนักเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ค้นพบความคาดหวัง ดังนี้ (1) คาดหวังรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของนักเรียน (2) คาดหวังให้มีเวลา อุปกรณ์ และความรู้ที่เพียงพอ เพื่อลดความเครียด (3) นักเรียนมีความคาดหวังต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองคาดหวังให้รูปแบบการทำงานสอดคล้องกับการเรียนของนักเรียน และครูคาดหวังที่จะพัฒนาตนเอง (4) ความคาดหวังด้านการเงิน ต้องการให้โรงเรียนและรัฐบาลสนับสนุนด้านอุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย และการพัฒนาความรู้ และ (5) ความคาดหวังด้านสังคม มีปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้นระหว่างนักเรียนและครู โดยผู้ปกครองและครูคาดหวังความเข้าใจจากครอบครัว และผู้บังคับบัญชา

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). การปิดสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ณภัค ธนเดชะวัฒน์ และคณะ. (2560). การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก กรณีศึกษาการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 65-80.

นคร มูลนำ. (2541). การประเมินผลโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพันธุศิริ สุเสารัจ และสนั่น มีขันหมาก. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มติชนสุดสัปดาห์. (2564). เช็กผลกระทบเรียน ‘ออนไลน์’?? เสียงสะท้อนจาก ‘พ่อแม่’ ถึง ‘รัฐบาล’!!, สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_457826

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 15-16.

รณชัย คนบุญ และเสาวนีย์ ชูจันทร์. (2563). “ความปกติใหม่” ของภาคการศึกษาไทย ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 1-12.

รัตนา แสงบัวเผื่อน และวิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี. (2564). การเลื่อนเวลาเปิดการจัดการเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน (On - site) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. ชลบุรี: โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). บทความวิชาการการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-296.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2564). สถานการณ์โควิด – 19 ณ เดือนสิงหาคม 2564. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/covidaug/

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). การเขียนรายงานการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableAge

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (2564). นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (นายวิทยา คุณปลื้ม). สืบค้นจาก https://www.chon.go.th/cpao/page

Hussin WNTW, Shukor HJ, Shukor NA, 2019, Online interaction in social learning environment towards critical thinking skill: A framework, Journal of Technology and Science Education 2019, 9(1), 4-12.

PISA Thailand. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

TDRI. (2021). การแพร่ระบาดระลอก 3 สถานการณ์ ผลกระทบและทางออกเชิงนโยบาย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023