การพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐภัทร คล้ายสุวรรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัญชลี ศรีกลชาญ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นาตยา ปิลันธนานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, สังคมศึกษา, วิสัยทัศน์สถานศึกษา

บทคัดย่อ

วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาเป็นการตกผลึกของความปรารถนาและมุ่งหวังของโรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งยังเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาที่นำมาใช้เป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของผู้เรียน งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาและประเมินผลหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษาผ่านการลงมือปฏิบัติร่วมกันของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ โดยเริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องกับคณะครู กำหนดวัตถุประสงค์ จุดเน้น สมรรถนะสำคัญ และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงจุดเน้นในวิสัยทัศน์สถานศึกษา ธรรมชาติและเป้าหมายของวิชาสังคมศึกษาในการพัฒนาพลเมือง มีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรและพัฒนารายวิชาพื้นฐาน จำนวน 28 รายวิชา โดยเริ่มจากการกำหนดประเด็น (Theme) ประจำรายวิชาที่ส่งเสริมการบูรณาการ สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชา คำนึงถึงบริบทของผู้เรียน จากนั้นพัฒนาคำอธิบายรายวิชาที่กระชับ เป็นเหตุเป็นผล สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ในวิชานั้น ๆ กำหนดชื่อวิชาที่สอดคล้องกับจุดเน้นและเป้าหมายรายวิชา แล้วนำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของหลักสูตร จากนั้นนำไปให้ผู้บริหารหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 10 ท่าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา โรงเรียนบางกะปิ จำนวน 25 ท่าน ประเมินผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตร ซึ่งผลการวิจัยพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก

References

คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางกะปิ. (2565). เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางกะปิ พุทธศักราช 2565. กรุงเทพฯ: โรงเรียนบางกะปิ.

งานประชาสัมพันธ์โรงเรียนบางกะปิ. (2565). โรงเรียนบางกะปิ. สืบค้นจาก http://bangkapi.ac.th/

จิรัสสา ไสยแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 161 - 167.

ดรุณี จำปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 121-135.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2564). สังคมศึกษา: ยุคมาตรฐานกำกับ. กรุงเทพฯ: โรจนพริ้นท์ติ้ง.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 116 ตอนที่ 74ก, น. 1-23).

วิไลลักษณ์ แก้วอุ่นเรือน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), 91-97.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Allen, K. A., & Kern, P. (2018). School vision and mission statements should not be dismissed as empty words. Retrieved from https://theconversation.com/school-vision-and-mission-statements-should-not-be-dismissed-as-empty-words-97375

Brown, D. J. (1990). Decentralization and School-based Management. Basingstoke: Taylor & Francis.

Burnham, J. W. (2010). Why vision? Retrieved from http://www.is-toolkit.com/knowledge_library/kl_files/WhyVision_JohnWestBurnham

Edge, K. (2000). School - Based Management. Washington, D.C.: Worldbank.

Fullan, M., & Watson, N. (2000). School-Based Management: Reconceptualizing to Improve Learning Outcomes. School Effectiveness and School Improvement, 11(4), 453-473.

Golod, A. (2014). Common Core: Myths and Facts. Retrieved from https://www.usnews.com/news/special-reports/a-guide-to-common-core/articles/2014/03/04/common-core-myths-and-facts

Greene, P. (2014). Common Core -- Curriculum or Not? Retrieved from https://www.huffpost.com/entry/common-core-curriculum-standards_b_5297876

Kochhar, S. K. (2009). Teaching of social studies (20nd ed.). New Delhi: Sterling Publisher.

McTighe, J., & Wiggins, G. (2012). Common Core Big Idea Series 2: The Standards Are Not Curriculum. Retrieved from https://www.edutopia.org/blog/common-core-standards-not-curriculum-jay-mctighe-grant-wiggins

Missouri Department of Elementary and Secondary Education. (2019). Missouri Schoolwide Positive Behavior Support Tier 1 Implementation Guide. Missouri: University of Missouri.

National Council for the Social Studies. (2002). National Standards for Social Studies Teachers. Maryland: NCSS Publications.

National Council for the Social Studies. (2010). National Curriculum Standards for Social Studies: A Framework for Teaching, Learning, and Assessment (2nd ed.). Maryland: NCSS Publications.

Wallace, R. C., Engel, D. E., & Mooney, J. E. (1997). The learning school : a guide to vision-based leadership. Thousand Oaks, Calif.: Corwin Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023