ผลของโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนะดี สุริยะจันทร์หอม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมความทนทานทางใจ, ความทนทานทางใจ, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบความทนทานทางใจก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมความทนทาน  ทางใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) โปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนำทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย แนวคิดการฝึกสติ ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนตัวตน และเทคนิคการฟังอย่างตั้งใจมาใช้ในการสร้างโปรแกรม และ 2) แบบวัดความทนทานทางใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมความทนทานทางใจ ประกอบด้วย 6 ครั้ง  มีผลการประเมินอยู่ในระดับเหมาะสมมาก  (gif.latex?\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.44) 2) ผลการใช้โปรแกรมความทนทานทางใจ พบว่า นักเรียนมีความทนทานทางใจหลังเข้าโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}= 3.40, S.D. = 0.67) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}= 2.59, S.D. = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กันตภณ มนัสพล, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, และสุรินทร์ สุทธิธาทิพย์. (2562). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 274-295.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ รุ่มวิริยะพงษ์. (2555). จิตใจเปราะบาง. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com./tcas/article/detail/9546

ฏาว แสงวัณณ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิดการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด และสุภาวะทางจิต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55534

ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2565). ผลของการอบรมโดยใช้แนวคิดทางจิตวิทยาการปรึกษาแบบผสมผสานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความทนทานทางจิตใจของนักศึกษา. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต,12(2), 27-38.

นิตยา วรรณรัตน์. (2546). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแซ่ฟ้า จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:101463

นิศารัตน์ สุขตาม, กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ และ ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์. (2565). การเสริมสร้างความเข็มแข็งทางใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ถูกกลั่นแกล้งโดยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 313-320.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2559). ทำอย่างไรให้ “รู้สึกดี” ต่อตัวเอง. สืบค้นจาก https://www. stellaraustralia.com/wp-content/uploads/2016/01/201210.pdf

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2565). จิตบำบัดรายบุคคลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: หจก.อภิชาติการพิมพ์.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2565). คุยเรื่องทิศทางการศึกษาปี 65 กับ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/article-education-direction-2565/

วันเพ็ญ แสงสงวน. (2562). ประสิทธิภาพของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจด้วยการใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 186-194.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2558). สังคมเปราะบางยิ่งต้องทำให้ลูกเข้มแข็ง. สืบค้นจาก https://citly.me/lYTwa

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/thaihealth-watch-จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี-2564

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. (2564). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. สืบค้นจาก https://citly.me/Xlh9a

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, พิมพ์วลัญช์ อายุวัฒน์ และ ปรานต์ เหล่ารัตน์ศรี. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(2), 35-42.

Boroujeni, S. T., Mirheydari, S. B. G., Kaviri, Z., & Shahhosseini, S. (2012). The survey of relationship and comparison:emotional intelligence, competitive anxiety and mental toughness female super league basketball players. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46, 1440-1444.

Clough, P. J., Earle, K., & Sewell, D. (2002). Mental toughness: The concept and its measurement. In I. Cockerill (Ed.), Solutions in sport psychology (pp. 32–43). London: Thomson.

Clough, P.J., & Strycharczyk, D. (2014). Developing Mental Toughness in Young People: Approaches to Achievement, Well-begin, Employability, and Positive Behavior. London: Karnac.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023