การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสู่การเรียนรู้ ในวิถีใหม่ (New Normal) สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต1
คำสำคัญ:
โมบายแอปพลิเคชัน, ทักษะการสื่อสาร, ภาษาจีน, การเรียนรู้ในวิถีใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ โมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โมบายแอปพลิเคชัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต1 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากหมู่เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีน และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) ผลวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน ประกอบด้วย หน้าต้อนรับ หน้าหลักประกอบด้วยเมนูบทเรียนที่มีทั้งรูปภาพและเสียงภาษาจีน บทเรียนประกอบด้วย เมนูคำศัพท์ บทสนทนา เรียนรู้ประโยค แบบฝึกหัด เกม และแบบทดสอบ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.43/83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กานต์พิชชา มะโน. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิภา ผินกลับ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้การ์ดคำศัพท์ทบทวนด้วยตัวเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. รายงานการวิจัย, โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.
ประไพร จันทะบัณฑิต. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์สื่อกสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาจีนแอพพลิเคชั่น. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 4 วันที่ 1 มีนาคม 2559. (หน้า 843-851). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
มูนีเร๊าะ ผดุง และคณะ. (2559). ความพึงพอใจในการใชมัลติมีเดียโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสําหรับนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2559). ผลการใช้แอปพลิเคชันสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1030-1045.
สมรัตน์ เรืองอิทธินันท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีการนำเสนอผังมโนทัศน์ด้วยภาพ เรื่อง ดาวฤกษ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุกัญญา ธรรมธีระศิษฏ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(14), 194-202.
สุวิมล มธุรส. (2563). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), 266-278.
Zhong, B. (2562). ทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(5), 1-15.
Pan, L. & Seargeant, P. (2012). Is English a threat to Chinese language and culture?. English Today, 28(03), 60-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา