การใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาในห้องเรียนมอนเตสซอรี่เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • จุฬินฑิพา นพคุณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ขวัญใจ จริยาทัศน์กร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

นิทาน, คุณธรรม, มอนเตสซอรี่, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรม จริยธรรมของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ก่อนและหลังการใช้ชุดกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ ประชากร คือ เด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 ในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ 3 ห้อง ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุนทรวัฒนา จำนวน 3 ห้อง จำนวน 83 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 ในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุนทรวัฒนา จำนวน 1 ห้อง โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่      1) นิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา 2) แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา 3) แบบประเมินพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 พฤติกรรม ได้แก่ ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความสุภาพ ความสะอาด ความสามัคคี และความมีน้ำใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์  ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) เด็กปฐมวัยมีคุณธรรมจริยธรรมหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา สูงกว่าก่อนการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาตามแนวคิดมอนเตสซอรี่  2)  การเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ พบว่า คะแนนคุณธรรมจริยธรรมหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ โดยภาพรวมเด็กปฐมวัยมีร้อยละของคะแนนพัฒนาการ อยู่ในระดับสูง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). คุณธรรม 8 ประการ. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2555). สอนหนูให้เป็นคนดีต้องเริ่มที่หัวใจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แปลนสารา.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, (มปป). การสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากทฤษฎีสู่แนวทางนำไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2536). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่งานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ ธัญโชติกานต์. (2561). จิตซึมซาบของเด็ก [The absorbent mind]. นครปฐม: มูลนิธิเด็ก.

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. (2563). คนเห็นแก่ตัวในสงครามโควิด 19. สืบค้นจาก https://www.komchadluek. net/scoop/426327คนเห็นแก่ตัวในสงครามโควิด-19 06 เม.ย. 2563.

รัตนดาว วนาภรณ์ และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (ม.ป.ป). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในด้านการฟังภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีสอนด้วยนิทานสองภาษากับการสอนแบบปกติ. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-5-1_1510839366_is-eng-bkk03-0009.pdf

วิเชียร เกษประทุม. (2550). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1(1). 1-20.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: เจริญผล.

สำลี รักสุทธี. (2554). สอนอย่างไรให้นักเรียนเขียนบทร้อยกรองเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม เพชรสังหาร. (2542). ทำไมต้องเล่านิทาน. สืบค้นจาก http://familynetwork.or.th/node/15603)

Lillard, P. P. (2016). How Our Children Develop Moral. Values December 28, 2016 By Forest Bluff School. Retrieved from https://forestbluffschool.org/wpcontent/uploads/2018/04/How-Our-%20Children-Develop-Moral-Values.pdf

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewwod Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2023