บทบาทและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ชุดากานต์ กำจัดภัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จันทร์ชลี มาพุทธ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

บทบาท, คุณลักษณะที่พึงประสงค์, นักพัฒนาชุมชน, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) แนวทางการพัฒนาบทบาทและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้นำชุมชนที่ทำงานกับนักพัฒนาชุมชน มีจำนวน 32 คนจาก 4 ภาค ภาคละ 8 คน และผู้ร่วมสนทนากลุ่มมีจำนวน 48 คนจาก 4 ภาค ภาคละ 12 คนทั่วประเทศ เลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างและแบบคำถามการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 1.1 ด้านการส่งเสริม ประกอบด้วย การส่งเสริมอาชีพ, การส่งเสริมการตลาดจำหน่ายสินค้า, การส่งเสริมการรวมกลุ่ม,การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำแผนชุนชน การเขียนโครงการเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาบุคลิกภาพการส่งเสริมการใช้ภาษาและเทคโนโลยีในการสื่อสารและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1.2 ด้านการสนับสนุน ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาและเอื้ออำนวยความสะดวก, งบประมาณและการประชาสัมพันธ์ 1.3 ด้านการประสานงาน ประกอบด้วย การประสานงานกับผู้นำชุมชน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานในชุมชนได้  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่ามี 1. ด้านความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย มีการเรียนรู้สิ่งใหม่, มีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การใช้ภาษาและเทคโนโลยี 2. ด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย แต่งกายเหมาะสม, มีความสุภาพ, อ่อนน้อมถ่อมตน, มีความคิดบวก, มีมนุษยสัมพันธ์ เป็นกันเองกับประชาชนและอัธยาศัยดี 3. ด้านการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย รักงานพัฒนาชุมชน, มุ่งมั่นตั้งใจ, ตรงต่อเวลา, เสียสละ, วางตัวเป็นกลางรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นและลงพื้นที่สม่ำเสมอ 2) แนวทางการพัฒนาบทบาทและคุณลักษณะที่   พึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย DEPT D (Development) การพัฒนาคน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  E (Ethics) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม P (Participation) การพัฒนาการมีส่วนร่วม T (Technology) การพัฒนาการใช้ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). รายงานผลการศึกษาประสิทธิภาพการทํางานของหน่วยงานหลังการปรับบทบาทภารกิจ และอํานาจหน้าที่ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). คู่มือการสร้างและพัฒนาหลักสูตรนักบริหารจัดการชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กิตติ ปานแก้ว. (2554). บทบาทนักพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ในจังหวัดยะลาที่ผู้นำชุมชนคาดหวัง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์ และคณะ. (2555). 50 ปี กรมการพัฒนาชุมชน อุทิศตน พัฒนาคน สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อิ้เกิ้ล เปเปอร์.

คำพอง วรรณวัติ. (2553). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนในอนาคต: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จารุพงศ์ พลเดช. (2546). การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการให้อํานาจปฏิบัติ. วารสารพัฒนาชุมชน, 42(4), 13-18.

นงเยาว์ ทองสมบูรณ์. (2552). การปรับเปลี่ยนบทบาทนักพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ : ทัศนะแม่บทเพื่อการปฏิบัติวัฒนธรรมแบบใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2554). แนวคิดหรือหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก http://sukanrat.blogspot.com/2012/09/sustainable-development.html

มัณฑนา ศังขะกฤษณ์ และวราพรรณ น้อยสุวรรณ. (2543). ทิศทางการศึกษาไทยในอนาคตใน 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุทธิดา ศิริบุญหลง. (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน: กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก http://www.oocities.org/tokyo/dojo/6860/suthida.htm

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรณพ ปิยะสินธ์ชาติ, ณมน จีรังสุวรรณ และปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). การเรียนรู้แบบเชื่อมต่อ: มุมมองที่ต้องตระเตรียมสำหรับสังคมไทยในยุคดิจิตอล. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 3(2), 129-138.

Africanus. (2012). Widespread occurrence of “Candidatus liberibacter africanus subspecies capensis” in Calodendrum capense in South Africa. Springer Netherlands.

Creswell, J. (2009). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed method Approaches (3rd ed.). California: Sage.

Hughes, M., & Carolyn J. K. (2008). Sociology (7th ed.). Boston: McGraw-Hill Companies, T.H.E.

Morgan, H. L. (1881). The Social Theories of Lewis Henry Morgan. The Editors of Encyclopaedia Britannica: The Editors of Encyclopaedia Britannica.

Rikhotso, R. H. (2013). The challenges of Community Development Workers in the implementation of the Community Development Workers’ Programme in Makhado Local Municipality, Limpopo Province (Thesis) Master of Public Administration, School of Public Leadership in the Faculty of Economic and Management Sciences at Stellenbosch University.

Spencer, H. (1981). Specialized Administration; in The Man verses the State, with Six Essays on Government, Society, and Freedom. Indianapolis: Liberty Classics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023