ผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

วิทยาศาสตร์, กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 28 คน 2) เด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 1 (คลองสวนหมาก) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) คู่มือประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม (p < .05) และ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้านหลังการจัดกิจกรรม (gif.latex?\bar{x}= 7.05, S.D. = 2.90) สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม (gif.latex?\bar{x}= 1.81, S.D. = 0.57)

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊ค.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เจ.เอส. การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรพรรณ ไวทยางกูร และคณะ. (2552). วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย. อ้างถึงใน ขัตติยดา ไชยโย, การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.

ภาวินี จิตต์โสภา, ศิรประภา พฤทธิกุล และเชวง ซ้อนบุญ. (2564). ผลการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาล โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 86-102.

รัตนาภรณ์ ทรงนภาวุฒิกุล. (2560). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการใช้คะแนนรูบริค: Scoring rubrics. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 12(1), 1-14.

ฤดีรัตน์ อยู่อาจิน และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2564). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 83-93.

วรัญชลี รอตเรือง, จตุพล ยงศร และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,

(ฉบับเพิ่มเติม), 319-330.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.

ศิริพร ธนะทรัพย์ทอง และสาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องเทคนิคการระบายสีน้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(3), 80-92.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2562). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน, 34(2), 31-40.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 105-122.

อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 211-228.

Ennis, R. H. (1985). A logical Basic of Measuring Critical Thinking Skills. Journal of Education Leadership, 43, 45-48.

Isabelle, D. A., Russo, L. & Velazquez-Rojas, A. (2021). Using the engineering design process (EDP) to guide block play in the kindergarten classroom: exploring effects on learning outcomes. International Journal of Play, 10(2), 1-20.

Paul, R. (1993). Teaching critical thinking. California: center of Critical Thinking and Moral Critique. Piaget, Learning Development institute. Building the Scientific Mind (BtSM) an Advanced International colloquium.

McKinney, K., & Heyl, B. (2008). Sociology Through Active Learning. Thousand Oaks, CA: SAGE/Pine Forge Press.

National Aeronautics and Space Administration [NASA]. (2018). Engineering Design Process. Retrieved November 18, 2021 from https://www.nasa.gov/audience/foreducators/best/edp.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2023