การศึกษาสมรรถภาพทางกายและทักษะของนักกีฬาเทนนิสระดับเยาวชน สถาบันเทนนิสศรีชาพันธุ์

ผู้แต่ง

  • ตรงกัณฑ์ มุสิกพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โรจพล บูรณรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถภาพทางกาย, ทักษะการตีลูกกระดอนหน้ามือ, นักเทนนิสระดับเยาวชน, การฝึกซ้อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย ความคล่องแคล่วว่องไวและทักษะการตีลูกกระดอนหน้ามือของกีฬานักเทนนิสระดับเยาวชน สถาบันเทนนิสศรีชาพันธุ์ ระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือนักกีฬาเทนนิสเพศชายและหญิงอายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปี จำนวน 20 คน โดยได้มาจากวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างรับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2 ด้าน ประกอบด้วยด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายและความคล่องแคล่วว่องไว และทักษะการตีลูกกระดอนหน้ามือ 2 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 3 เดือน ทดสอบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังระยะเวลา 3 เดือน ด้วยสถิติ Dependent t-test   ผลวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายและความคล่องแคล่วว่องไว และทักษะการตีลูกกระดอนหน้ามือพัฒนาขึ้นจากก่อนระยะเวลา 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกายและทักษะพื้นฐานที่สำคัญของนักกีฬาเทนนิสระดับเยาวชน สถาบันเทนนิสศรีชาพันธุ์ ได้รับการพัฒนาจากการฝึกซ้อมกีฬาเทนนิสระยะเวลา 3 เดือน

References

กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับประถมศึกษา อายุ 7–12 ปี 2562. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.

ดำรัส ดาราศักดิ์. (2556). วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการแข่งขันในระดับสากล (เทนนิส). เอกสารประกอบการสอนวิชา 114430, นครราชสีมา: สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ภูมิพิทักษ์ สายน้ำเพชร และ โรจพล บูรณรักษ์. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึก Tennis 10s ที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานกีฬาเทนนิส และความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาเทนนิส ช่วงอายุ 4–6 ขวบ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 103–112.

สุพิตร สมาหิโต. (2556). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความคล่องแคล่วว่องไวของกรมพลศึกษาสำหรับประชาชนอายุ 7–18 ปี 2556. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

อรรถวุฒิ กังวานตระกูล. (2549). การวิเคราะห์กลยุทธ์และยุทธวิธี ในการเล่นเทนนิสประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว ในการแข่งขันรายการแกรนด์แสลมปี พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barber-Westin, S. D., Hermeto, A. A., & Noyes, F. R. (2010). A six-week neuromuscular training program for competitive junior tennis players. Journal of strength and conditioning research, 24(9), 2372–2382. DOI: https://doi.org/10.1519/JSC.0b013e3181e8a47f

Bompa, T. O., & Haff, G. (2009). Periodization: theory and methodology of training. (5th ed.) Champaign, IL.: Human Kinetics.

Fernández-Fernández, J., Saez de Villarreal, E., Sanz-Rivas, D., & Moya, M. (2016). The Effects of 8-Week Plyometric Training on Physical Performance in Young Tennis Players. Pediatric exercise science, 28(1), 77–86. DOI: https://doi.org/10.1123/pes.2015-0019

Filipčič, A., Filipčič, T., & Leskošek, B. (2015). Differences in physical fitness among young tennis players in between 1992 and 2008. Collegium antropologicum, 39(1), 131–143.

Gül, M., Imre, R., Gül, G. K., & Eskiyecek, C. G. (2020). The effect of fun tennis training on some motoric features and tennis skill in 8-10 year old children. European Journal of Physical Education and Sport Science, 6(2), 1–14.

Hewitt, J.E. (1966). Hewitt's tennis achievement test. Research quarterly, 37(2), 231–240.

Knudson, D., & Blackwell, J. (2000). Trunk muscle activation in open stance and square stance tennis forehands. International journal of sports medicine, 21(5), 321–324. DOI: https://doi.org/10.1055/s-2000-3776

Komi, P. V. (2003). Strength and power in sport. (2nd ed.). Osney Mead, Oxford; Malden, MA, Blackwell Science.

Komi, P. V., & Bosco, C. (1978). Utilization of stored elastic energy in leg extensor muscles by men and women. Medicine and science in sports, 10(4), 261–265.

Kovacs, M. S. (2007). Tennis physiology: training the competitive athlete. Sports medicine (Auckland, N.Z.), 37(3), 189–198. DOI: https://doi.org/10.2165/00007256-200737030-00001

Kramer, T., Valente-Dos-Santos, J., Visscher, C., Coelho-E-Silva, M., Huijgen, B. C. H., & Elferink-Gemser, M. T. (2021). Longitudinal development of 5m sprint performance in young female tennis players. Journal of sports sciences, 39(3), 296–303. DOI: https://doi.org/10.1080/02640414.2020.1816313

Lee, T. D. (1988). Chapter 7 Transfer-Appropriate Processing: A Framework for Conceptualizing Practice Effects in Motor Learning. Advances in psychology, 50, 201–215.

Lees, A. (2003). Science and the major racket sports: a review. Journal of sports sciences, 21(9), 707–732. DOI: https://doi.org/10.1080/0264041031000140275

Malina, R., Bouchard C., & Bar-Or, O. (2004). Growth, Maturation and Physical Activity (2nd ed.). Champaign, IL: Human Kinetics.

Ozmun, J. C., Mikesky, A. E., & Surburg, P. R. (1994). Neuromuscular adaptations following prepubescent strength training. Medicine and science in sports and exercise, 26(4), 510–514.

Sale, D. G. (1992). Neural adaptation to strength training. In Komi, P. V. (Ed.). Strength and Power in Sport. (pp. 249–265). Oxford: Blackwell Scientific Publications.

Schmidt, R. A., & Wrisberg, C. A. (2008). Motor learning and performance: a situation-based learning approach (4th ed.). Champaign: Human Kinetics.

Ulbricht, A., Fernández-Fernández, J., Mendez-Villanueva, A., & Ferrauti, A. (2016). Impact of Fitness Characteristics on Tennis Performance in Elite Junior Tennis Players. Journal of strength and conditioning research, 30(4), 989–998. DOI: https://doi.org/10.1519/ JSC.0000000000001267

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2023