การพัฒนาชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม

ผู้แต่ง

  • กรวิชญ์ โสภา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การคิดเชิงออกแบบ, การออกแบบเชิงวิศวกรรม, ชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และศึกษาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่จัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีค่าประสิทธิภาพ 87.83/87.87 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ผลการพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการใช้ชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ความสามารถทั้ง 6 ความสามารถ ด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้ชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีค่าเฉลี่ยทุกด้านอยู่ที่ 2.64 อยู่ในเกณฑ์ดี (gif.latex?\bar{X}=2.64, SD=0.50)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 5-14.

พสุ เดชะรินทร์. (2551). หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้นแอนด์มีเดีย.

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การพัฒนารูปแบบ การสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 258-273.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัฐวุติ จ่างวิทยา. (2561). วิวัฒนาการของการคิดเชิงออกแบบ: จากกลยุทธการแก้ไข้ปัญหาของภาคธุรกิจสู่องค์ความรู้ในภาควิชาการ และการไปสู่การย่อส่วนเพื่อนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1944–1957.

Brown, T. (2008). Design thinking. Harvard business review, 86(6), 84.

Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved from https://dschool old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. Washington, DC: The National Academies Press.

Yi, LUO. (2015). Design Fixation and Cooperative Learning in Elementary Engineering Design Project: A Case Study. International Electronic Journal of Elementary Education. 8(1), 133-146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023