ผลการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอ่านสำหรับเด็กวัยอนุบาล
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์ทางภาษา, วรรณกรรมเป็นฐาน, พฤติกรรมการอ่าน, เด็กวัยอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการอ่านของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยอนุบาล อายุ 3-4 ปี โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน แบบประเมินเชิงปฏิบัติการด้านความรู้เกี่ยวกับการอ่าน และแบบประเมินการรักการอ่านของเด็กวัยอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กวัยอนุบาลมีพฤติกรรมการอ่านก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม หลังการทดลองอยู่ในระดับดี 2. เด็กวัยอนุบาลมีพฤติกรรมการอ่านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการอ่านสำหรับเด็กวัยอนุบาลได้
References
กรมวิชาการ. (2547). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี (พิมพ์ ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2554). อย่างไรคือพฤติกรรมรักการอ่าน. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562 เข้าถึงได้
จาก http ://www. gotoknow. org/posts/452264.
ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2553). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีสหบทและ แนวการสอนอ่านโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิง สร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล เนียมหอม. (2559). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ
ธันวาคม 2562 เข้าถึงได้จาก http://www.nareaumon.com/
พิชญา สุวรรณโน. (2560). ปัญหาการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนบ้านหนองควนลัง
(ราษฏร์สามัคคี), บัณทิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พนิดา ดีหลี, ชานนท์ จันทรา และต้องตา สมใจเพ็ง (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับ และอนุกรมโดยใช้รูปแบบ sscs ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3), 71.
ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่าน
กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค
Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3), 7.
วราลี ถนอมชาติ. (2549). ผลของการจัดประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานที่มีต่อ ความสามารถในขั้นก่อนการอ่านของเด็กอนุบาล. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา การศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวรรณ จันทร์แก้ว. (2556). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพัทลุง. ปริญญาการศึกษามหาบัญฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและ ประเมิน, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุภัทรา คงเรือง. (2560). การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การอ่านของประชากรประจำปี พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562 เข้าถึงได้จาก http : //www.khaosod.co.th/.lifestyle/news 2385678.
Asep, S., & Acep, H. (2017). The effects of reading habit towards students’reading comprehension at private senior high school in Purwakarta, Eltin journal, 5(2), 57- 70.
Burry, S., & Judith, O. (1996). Rater agreement indexes for performance
assessment. Educational and Psychological Measurement. 56(2): 256.
Holdaway, D. (1979). The foundation of literacy. New Hampshire: Heinemann.
Lenski, S. D. (2001). Intertextual connections during discussions about literature. Reading psychology. 22: 313-335.
Morrow, L. M. (1993). Literacy development in early year: Helping children read and write. Unites State of America: A division of Simon and Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิมล นิราพาธ, ศิรประภา พฤทธิกุล, สุกัลยา สุเฌอ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา