ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล

ผู้แต่ง

  • ณสิกาญจน์ ดำริวัฒนเศรษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิรประภา พฤทธิกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุกัลยา สุเฌอ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุกัลยา สุเฌอ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง, กระบวนการกลุ่ม, พฤติกรรมเสริมสร้างสังคม, เด็กอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม หลังการทดลองอยู่ในระดับดี 2) เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังโดยใช้กระบวนการกลุ่มสามารถนำไปใช้พัฒนาพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาลได้

References

กาญจนา สิงหเรศร์. (2551). ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารแบบร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคม

ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กิดานันท์ มะลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

ชลิดา ชวนานนท์. (2552). ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ดวงเดือน ศาสตราภัทร และ พัชรี ผลโยธิน. (2555). ขอบข่ายการวัดประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

และสังคมของเด็กปฐมวัย. ใน อริศรา แก่นอ้วน (บ.ก.), แนวการศึกษาชุดวิชา หลักการและ แนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยศึกษา, (9-20). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภา เกษตรสมบูรณ์. (2558). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้กระบวนการกลุ่มที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

บุญปารถนา มาลาทอง, วิมลรัตน์ จติรานนท์ และ สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2563). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 1(1), 36.

พิจิตรา ธรรมสถิตย์. (2552). ผลของการเรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บโดยใช้กรณีตัวอย่างด้วยการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแข่งขัน ระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเพ็ญ บัวทอง. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยวัตถุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศนันท์ สุขสถิต. (2554). ศึกษาโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ,

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียสแควร์.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชา 'EcED 201 การศึกษาปฐมวัย Early Childhood Education. กรุงเทพฯ: หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2553). ละครแรง เด็กร้าย. ในสุทธิวรรณ ตัญญพงศ์ปรัชญ์, Colorbar: รายงานพิเศษเรื่องการเฝ้าระวังสื่อ,65-66 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2547). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

เสฏฐวุฒิ ไชยฮั่ง และ วายุ กาญจนศร. (2563). การพัฒนาทักษะลีลาศจังหวะชะชะช่า โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนส่องดาววิทยาคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(2), 116.

อมรรัตน์ สารบัญ. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เน้นกระบวนการกลุ่ม. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี. 1(2), 136

Baumeister, R. F., & Bushman, B. J. (2008). Social psychology and human nature.Florida: Thomson Wadsworth.

Beaty, J. J. (2005). Observing development of the young child. New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Burry, S., & Judith, O. (1996). Rater agreement indexes for performance Assessment. Educational and Psychological Measurement. 56(2): 256.

Ciampa, C. Farr, J. & Kaplan K. (2000). Improving social competencies through the use of cooperative learning and conflict resolution, Eric Education Resource Information Center.

Eisenberg, M. E., Olson, R. E., Neumark-Sztainer, D., Story, M., & Bearinger, L. H. (2004).

Correlations between family meals and psychosocial well-being among adolescences. Arch pediatr adolesc med.

Mussen, P., & Eisenberg-Berg, N. (1977). Roots of caring, sharing, and helping: The development of pro-social behavior in children. W. H. Freeman.

Johnson, D.W. and Johnson, F.P. (2003). Joining Together: Group Theory and Group Skill.

(8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2022