ขุมปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อสังคมแห่งความสุขของผู้สูงอายุยุคใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ แหนจอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เกศรา น้อยมานพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พวงทอง อินใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุเนตร สุวรรณละออง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เกศรา น้อยมานพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความสุขของผู้สูงอายุ, ความผาสุกของผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสาน, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพ บริบท สังคม วัฒนธรรม ของผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้าน 2) ศึกษาปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออก และ
3) สร้างฐานข้อมูลแผนที่ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยผสมวิธี พื้นที่วิจัยครอบคลุม จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 245 คน ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน (พื้นที่ละ 5 คน) และระยะที่ 3 สนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน (สนทนากลุ่ม พื้นที่ละ 10 คน) ได้มาจากการเลือกตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ANOVA และ MANOVA

               ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. กลุ่มจักสานอำเภอพนัสนิคม (ชลบุรี) เป็นชุนชมที่ใช้ไม้ไผ่ในการจักสาน จุดเด่นคือ ฝาชีลายดาวล้อมเดือน จดลิขสิทธิ์ลายฝาชีจำนวน 4 ลาย กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน (ระยอง) ใช้กกหรือกระจูดในการจักสาน กระเป๋า มีมากกว่า 100 ลาย และ กลุ่มจักสานแม่บ้านวังเย็น (ฉะเชิงเทรา) ใช้มะพร้าวและไม้ไผ่ในการจักสาน จุดเด่น คือ ตะกร้าไม้ไผ่ลายคุณนายมะเฟือง ผู้สูงอายุทั้ง 3 ชุมชนต้องการการสนับสนุนทางการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาฝีมือ และการจัดการส่งออก
  2. ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผาสุกของผู้สูงอายุ ได้แก่ พื้นที่ชุมชน ประสบการณ์การทำจักสาน และการปฏิบัติสมาธิ
  3. 3. ได้ฐานข้อมูลแผนที่ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เป็นสารสนเทศในการบริหารจัดการต่อไป ซึ่งเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ http://agingwisdom.buu.ac.th/

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). รายงานประจำปี 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จากhttps://www.dop.go.th/th/implementaion/2/1/1152

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และ สิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 152-167.

จุฑามาศ แหนจอน. (2559). อิทธิพลของการเพ่งความสนใจที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2), 208-222.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561. https://thaitgri.org/?p=38670

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่ และสุจริต สุวรรณชีพ. (2544). การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 46(3), 227-232.

อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2560). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องจักสานบ้านดงชะพลู ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมปริทัศน์, 6(4), 180-188.

Ryff, C. D. (2014). Psychological well-being revisited: Advances in the science and practice of eudaimonia. Psychotherapy and psychosomatics, 83(1), 10-28.

World health Organization. (1996). WHOQOL-BREF. Introduction, Administration, Scoring and generic version of the assessment: field trial version, December 1996

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2022 — Updated on 21-09-2022

Versions