ความต้องการและเหตุผลของนิสิตและผู้ปกครองที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ด้านการแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิริกุล กวมทรัพย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนิสิตและผู้ปกครองที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาเหตุผลของนิสิตและผู้ปกครองที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการและเหตุผลของนิสิตและผู้ปกครองที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 140 คน และผู้ปกครองของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน และผู้ปกครองของนิสิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T (T-test) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการด้านความเจริญเติบโต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.09 รองลงมา ได้แก่ ความต้องการด้านการดำรงชีวิต มีค่าเฉลี่ย 3.86 ลำดับต่อมา คือ ความต้องการด้านความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 3.83 เหตุผลด้านส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย 3.79 เหตุผลด้านสถาบัน มีค่าเฉลี่ย 3.76 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ความต้องการด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 3.75 ตามลำดับ โดยนิสิตและผู้ปกครองเห็นว่าการศึกษาต่อด้านการแพทย์แผนไทยสามารถนำทักษะและความรู้ไปใช้พัฒนาการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากสังคม รวมถึงได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งเป็นสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ทั้งนี้เว็บไซต์และเฟสบุ๊คคณะเป็นตัวกลางที่มีความสำคัญในกระบวนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนิสิต

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความต้องการและเหตุผลของนิสิตและผู้ปกครองที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาการแพทย์แผนไทยไม่แตกต่างกัน

References

จุลลดา จุลเสวก และวรันธร อรรคปทุม. (2562). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 149-160.

ฐานิตา ลอยวิรัตน์ และเกศริน คงจันทร์. (2561). ความคาดหวังและผลการเข้าศึกษาของนักเรียนแต่ละโครงการงานรับนักศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2561. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์), คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์), สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, ปาริชาติ บัวเจริญ และปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2562). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 7(2), 59-71.

ธนภพ สอนดีและ พัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 2(2), 59-64.

ประดิษฐ์ ฉัตรจรัสกูล, พระครูสุธีวรสาร, พินโย พรมเมือง และสถาพร วันนุกูล. (2560). ปัจจัยในการ ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 1(1), 11-17.

พัชรีรัตน์ เอี่ยมบรรจง. (2558). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอโยธยาบริหารธุรกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 155-160.

พิชัย ละแมนชัย. (2559). การพยากรณ์ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อโครงการการศึกษาเพื่อปวงชนมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 137-150.

มหาวิทยาลัยบูรพา กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา. (2564). สถิตินิสิต, สืบค้นจาก https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs953262831=1.

วรินทร รัชโพธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาวิทยาลัยการเมือง

การปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 429-448.

สมภพ บุญนาศักดิ์, สุวิชา วันสุดล, กมลทิพย์ สงวนรัมย์ และปัทมา เกตุอ่ำ. (2562). เหตุผลและความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองที่จะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(ฉบับพิเศษ), 111-120.

อารยา ทองโชติ. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(1), 169-183.

Clayton, P. A. (1972). Existence, Relatedness & Growth: Human Needs in Organizational setting. New York: The Free Press.

Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396. https://doi.org/10.1037/h0054346

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023