ผลการใช้แนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษาเพื่อจัดการเรียนรู้ ในวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบของนิสิตหลักสูตรสองภาษา

ผู้แต่ง

  • ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

แนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL), ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ประวัติศาสตร์การออกแบบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เนื้อหาของกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยภาษาไทยและกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยแนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษา และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มทดลองหลังจากเรียนด้วยแนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษา  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางบูรณาการเนื้อหาและภาษา ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้รายวิชา แบบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ และระบบประเมินความพึงพอใจของนิสิต กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนิสิตชั้นปี 1 จำนวน 21 และ 26 คน กลุ่มควบคุมมี 24 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ยังไม่อาจสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เนื้อหาของกลุ่มทดลองจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมที่เรียนวิชาเดียวกันด้วยภาษาไทย เนื่องจากเมื่อวิเคราะห์ผลคะแนนจากสองวิชาด้วยสถิติ T-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญไว้ที่ 0.05 แล้วพบว่ามีทั้งกรณีที่ผลการทดสอบหลังเรียนของแต่ละกลุ่มไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.21223) และกรณีที่ผลการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P=0.01404) 2) ระดับทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นแต่อยู่ในระดับที่ยังไม่มีนัยสำคัญตามสถิติ T-test (P=0.13373 และ 0.35475) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้สอนถนัดการสอนเนื้อหามากกว่าการสอนภาษา และ 3) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในระดับมาก ผลการศึกษาโดยรวมมีแนวโน้มสนับสนุนว่าแนวทาง CLIL น่าจะนำมาใช้กับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบได้ เพราะทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งนี้ ผู้สอนที่ถนัดการสอนเนื้อหาควรได้รับการฝึกอบรมด้านการสอนภาษา และน่าจะต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อให้ชัดเจนขึ้นว่าหลังผู้สอนผ่านการอบรมแล้ว ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เนื้อหาของผู้ที่เรียนด้วยแนวทาง CLIL จะใกล้เคียงหรือแตกต่างกับผู้ที่เรียนด้วยภาษาไทย

References

Amado, A. (2012). The Design of Content & Language Integrated Learning (CLIL) Course for the Interwoven Development of Content, Communication, Cognition & Culture. (Master’s Thesis, Universidad de Piura, Perú). Retrieved from https://hdl.handle.net/11042/1805

Buphate, T., Inta, K., & Esteban, R. H. (2018). A CLIL Approach in Thailand University Setting: Teaching Design Thinking Through English. In Proceedings of the 2018 International Conference of English Language Studies (ICELS) (pp.58-72). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology.

Cenoz, J., Genesee, F., & Gorter, D. (2014). Critical Analysis of CLIL: Taking Stock and Looking Forward. Applied Linguistics, 35(3), 243–262. DOI: https://doi.org/10.1093/applin/amt011

Chansri, C., & Wasanasomsithi, P. (2016). Implementing CLIL in Higher Education in Thailand: The Extent to Which CLIL Improves Agricultural Students’ Writing Ability, Agricultural Content, and Cultural Knowledge. PASAA, 51, pp. 14-37.

Charatwattananich, M., Kewara, P., & Surasin, J. (2020). A Study of Authentic Material Developed for an English Training Program in a Workplace Context. International Journal of English and Education, 9(1), 17-30.

Galloway (2017). How effective is English as a medium of instruction (EMI)?. Retrieved from https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/how-effective-english-medium-instruction-emi

Hu, G., Li, L., & Lei, J. (2014). English-medium instruction at a Chinese University: Rhetoric and reality. Language Policy, 13(1), 21–40.

Kaewngam, S., Chauvatcharin, N., & Kewara, P. (2020). CLIL in Genetics: Class Activity and English Language Usage in Classroom. Scholar: Human Sciences, 12(1), 347-361.

Kewara, P. (2017). Phrasebook: a way out for CLIL teachers in Thailand. Latin American Journal of Content and Language Integrated Learning, 10(1), 49-73. DOI: 10.5294/laclil.2017.10.1.3

Kewara, P. & Prabjandee, D. (2018). CLIL Teacher Professional Development for Content Teachers in Thailand. Iranian Journal of Language Teaching Research, 6(1), 93-108. DOI: 10.30466/ijltr.2018.20492

Pengnate, W. (2013). Ways to Develop English Proficiency of Business Students: Implementation of Content and Language Integrated Learning (CLIL) Approach. International Journal of Education and Research 1(8), 1-12.

Von Koenig, G. A., (2018). Undergraduate Industrial and Product Design Pedagogy and the History Curriculum: How We Teach History to Practitioners in Training. (Thesis), History of Design and Curatorial Studies, Cooper Hewitt,

Smithsonian Design Museum and Parsons School of Design.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023