ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบสะตีมศึกษา (STEAM EDUCATION) เรื่อง อาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกหินตั้งศึกษาศิลป์

ผู้แต่ง

  • puthanet muangram คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • แววดาว ดาทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

สะตีมศึกษา, จิตวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, อาหารและสารอาหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education 2) ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบ STEAM education กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ใช้การสุ่มแบบ Cluster sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education เรื่องอาหารและสารอาหาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารและสารอาหาร 3) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้การทดสอบแบบที ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และข้อมูลที่ได้จากแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 11.681, p<0.01) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.51, S.D. + 0.11) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.18, S.D. + 0.28) แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education มีประสิทธิภาพเหมาะกับเนื้อหาและผู้เรียน

References

เจนจิรา สันติไพบูลย์ และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 69–85.

ชลิดา อาบสุวรรณ์ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 25–36.

ณัฐพงษ์ เทศทอง (2564). ผลการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th › dspace › bitstream

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(3), 389-403.

นพดล กองศิลป์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่สากลตามแนวทาง STEAM. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 12(2), 46-57.

ภัทราดา เอี่ยมบุญฤทธิ์. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active leaning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.

ภิญโญ วงศ์ทอง. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(1), 94–112.

มัชฌิมา เส็งเล็ก. (2564). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และ จิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(2), 91-103.

มินตรา กระเป๋าทอง. (2561). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. สืบค้นจาก http://ns.nsru.ac.th/

มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษา เพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องพลังงานรอบตัวเรา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจาก http://www.research.rmutt.ac.th

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

อุทัยวรรณ ปันคำ. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับพื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ของโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลสันต้นมื้อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 123-136.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. David McKay: New York.

Hyeondo, J. & Hyonyong, L. (2017). Development and Application of Scientific Inquiry based STEAM Education Program for Free-Learning Semester in Middle School. Journal of Science Education, 41(3), 334-350.

Jaedon, J. & Hyonyong, L. (2015). The Development and Application of STEAM Education Program based on systems Thinking for High School Students. Journal of the Korean Association for Science Education, 36(6), 1007-1018.

Ortiz, R.J., Greca, M.I. & V.llagra, A.M.L. (2021). Effects of an integrated STEAM approach on the development of competence in primary education students. Journal for the Study of Education and Development. DOI: 10.1080/02103702.2021.1925473

Yakman, G. (2008). STEAM Education: An Overview of creating a model of Integrative education. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Georgette-Yakman-2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023