การประเมินความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

ผู้แต่ง

  • ฐิตาภัทร์ รุ้งรามา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

participation, improvement plan for the education quality.

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำนวน 324 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงมีค่าเท่ากับ 0.978 และค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่คาดหวังมีค่าเท่ากับ 0.972 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)

     ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01, S = 1.294) ส่วนสภาพที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S = 0.666) 2) ครูมีความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบกลยุทธ์พัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 2 การมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอันดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 4 การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 5 และการมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษาเป็นอันดับสุดท้าย

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

References

แพรทอง นะวัน. (2558). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554 – 2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร. (วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณิศา พิมพร. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศราวุธ บัวผัน. (2555). การพัฒนาแผนพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนในฝันของโรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร:มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สินี สุขุมาลรังสี. (2558). การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563-2565. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ความสำคัญของงานงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความตองการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022