การใช้กลยุทธ์ PQ4R เพื่อเพิ่มพูนความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมในหมู่บ้านหลัวจ้าง ตำบลพ้านโหลง เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • หยี่เจิน โจว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • เฉลิมชัย ไชยชมภู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ปทุมรัศมิ์ นาคนิษฐนนต์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ PQ4R, ความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่เรียนการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษโดยใช้กลยุทธ์ PQ4R และนักเรียนที่เรียนการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการตามปกติ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษโดยใช้กลยุทธ์ PQ4R เพื่อเพิ่มพูนความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 100 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดย    กลุ่มตัวอย่างกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมหลัวจ้าง อำเภอปานลอง เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์ PQ4R แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test

ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเท่ากับ 6.43 และ 6.45 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่หลังการทดลองพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเท่ากับ 7.36 และ 6.62 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ นักเรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มทดลองยังมีทัศนคติเชิงบวกต่อกลยุทธ์ PQ4R โดยมีความพึงพอใจในระดับสูง ( =3.86, SD=0.967) และคิดว่ากลยุทธ์นี้มีประโยชน์และมีประสิทธิผลมากกว่าวิธีการสอนทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่าขั้นตอน "การอ่าน" และ "การท่องจำ" เป็นขั้นตอนที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับนักเรียนในระหว่างการเขียน

References

Best, J. W. (1986). Research in education (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Borich, G. (1994). Observation skills for effective teaching. New York: Maxwell Macmillan.

Ishaku, P., Ibrahim, J. A., & Alu, A. L. (2004). The strategies and methods of teaching writing skills in primary schools. Nasarawa State University: Nigeria.

Laksmi, E. D. (2006). Scaffolding students’ writing in EFL class: implementing process approach. TEFLIN Journal, 17(2), 144-156.

Luo, Y., & Liu, Y. (2017). Comparison between peer feedback and automated feedback in college English writing: A case study. Open Journal of Modern Linguistics, 7(4), 197-215. DOI: https://doi.org/10.4236/ojml.2017.74015

Review. (2013). In Cambridge Advanced Learners’ Dictionary (4th ed.). United Kingdom: Cambridge University Press.

Revision. (2013). In Cambridge Advanced Learners’ Dictionary (4th ed.). United Kingdom: Cambridge University Press.

Sarimanah, E. (2016). Effectiveness of PQ4R metacognitive strategy based reading learning models in junior high school. International Journal of Language Education and Culture Review, 2(1), 74-81. DOI: doi.org/10.21009/IJLECR.021.08

Slavin, R. E. (1997). Educational psychology: Theory and practice (5th ed.). Massachusettes: Allyn and Bacon Publisher.

Shoaib, M., Inamullah, H. M., Irshadullah, H. M., & Ali, R. (2016). Effect of PQ4R strategy on slow learners' level of attention in English subject at secondary level. Journal of Research & Reflections in Education (JRRE), 10(2), 147-155.

Yao, C. l., & Cao, H. M. (2012). How peer review affects Chinese college students’ English writing. Abilities Theory and Practice in Language Studies, 2(3), 554-559. DOI: 10.4304/tpls.2.3.554-559

Yunus, M. M., & Chien, C. H. (2016). The use of mind mapping strategy in Malaysian University English Test (MUET) Writing. Creative Education, 7(4), 619-626. DOI: http://dx.doi.org/10.4236/ce.2016.74064

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2023