ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ผู้แต่ง

  • วิษณุ โชโต คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • สุภาภรณ์ บุญเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรจำแนกตามสายงาน และประสบการณ์ทำงาน โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้แก่ บุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 61 คน ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า

1. กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.87, SD=0.29) และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการประเมินคุณภาพ ( =4.06, SD=0.38) ด้านการดำเนินงานและเก็บข้อมูล ( =4.03, SD=0.36) ด้านการวางแผน ( =3.73, SD=0.32) และด้านการเสนอแนวทางการปรับปรุง ( =3.69, SD=0.26) ตามลำดับ

2. การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.69, SD=0.26) และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ( =4.01, SD=0.64) ด้านนักศึกษา ( =3.81, SD=0.86) ด้านการกำกับมาตรฐาน ( =3.76, SD=0.96) ด้านอาจารย์ ( =3.73, SD=0.94) ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ( =3.67, SD=0.97) และด้านบัณฑิต ( =3.56, SD=0.90) ตามลำดับ

3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร จำแนกตามสายงานและประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน

4. กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.69) และรายด้าน ได้แก่ การวางแผน (Plan) การดำเนินงานและเก็บข้อมูล (Do) การประเมินคุณภาพ (Check/ Study) และการเสนอแนวทางการปรับปรุง (Act) มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.68, 0.60, 0.57 และ 0.50 ตามลำดับ)

References

กชกร ดาราพาณิชย์. (2555). การรับรู้ การมีส่วนร่วม และการยอมรับของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยยีเทคโนโลราชมงคลธัญบุรี.

เกษรา ตรีไพชยนต์ศักดิ์. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน: กรณีศึกษา สาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จินดารัตน์ บัวพงชน. (2560). ปัจจัยการบริหารที่สัมพันธ์ต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์นี้ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บุรพร กำบุญ. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยากรุงเทพธนบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1746-1757.

บุษรา มิ่งขวัญ. (2558). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเอกชนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. รายงานวิจัยองค์กร.

ปรารถนา อังคประสารทชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พนิดา วัชระรังสี. (2556). การรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี ปีการศึกษา 2556. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (2563). รายงานประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. (Self – Assessment Report: SAR). ชลบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

รุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. PULINET Journal, 4(3), 105 – 112.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022