ปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
การตัดสินใจศึกษาต่อ, ปริญญาตรี, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 637 คน โดยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ (Google form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย t-test และ f-test โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตร และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 2) นักศึกษาที่จบการศึกษาจากภูมิภาคที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 3) นักศึกษาที่สมัครผ่านระบบการคัดเลือก TCAS รอบที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในทุกด้านแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการศึกษาช่องทางการรับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัย จำแนกตามระบบการคัดเลือก TCAS พบว่า นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS ทุกรอบ รับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยจากช่องทางสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กลุ่มใน Facebook Twitter Instagram มากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook ของคณะ/มหาวิทยาลัย และอันดับ 3 ได้แก่ เว็บไซต์แนะแนวการศึกษาต่อ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ดลฤดี สุวรรณคีรี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ. วารสารพัฒนาสังคม, 9(1), 157–174.
ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562, 21 มกราคม). การลงนามร่วมคณะทำงาน EEC ผลิตกำลังคนป้อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/962000000718
ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 10(32), 35-46.
รจเรข สายคำ, และวัฒนา พัดเกตุ. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 (น. 1348-1358). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศรุดา ชัยสุวรรณ, เสน่ห์ สีตลารมณ์ และ วีรจักร แสงวงศ์.(2563). การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียน.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 686-702.
สมศรี เพชรโชติ. (2560). การศึกษาเหตุผลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: การวิจัยผสมผสานวิธีการ. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563 (น. 1078-1088). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, มัทนา บัวศรี, เปาซี วานอง และ Panyasack Sengonkeo. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(3), 33-47.
Filip, A. (2012). Marketing theory applicability in higher education. Procedia-social and behavioral sciences, 46, 912-916.
Hooley, G. J., & Lynch, J. E. (1981). Modelling the student university choice process through the use of conjoint measurement techniques. European Research, 9(4), 158-170.
Maniu, I., & Maniu, G. C. (2014). Educational Marketing: Factors Influencing the Selection of a University. SEA: Practical Application of Science, 2(3), 37-41.
OECD. (2008). Higher Education to 2030, Volume I. Paris: OECD Publishing
OECD. (2015). In It Together: Why Less Inequality Benefits All. Paris: OECD Publishing
OECD. (2018). Tertiary Education Systems and Labour Markets. Paris: OECD Publishing
Shields, A. B., & Peruta, A. (2019). Social media and the university decision. Do prospective
students really care?. Journal of marketing for higher education, 29(1), 67-83.
Zebal, M. A., & Goodwin, D. R. (2012). Market orientation and performance in private universities. Marketing Intelligence & Planning, 30(3), 339-357.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา