การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ไอลดา มณีกาศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชนใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชนใน อ.แม่จัน                          จ.เชียงราย กลุ่มเป้าหมายคือ 1) ปราชญ์ชาวบ้านใน ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย จำนวน 15 คน                2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 23 คน โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุศาสตร์)                      ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์                    ทางการเรียน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ( )                     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น             ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย มีขอบเขต 5 ด้าน คือ ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการสวัสดิการและธุรกิจชุมชนด้านการรักษาโรคและการป้องกัน ด้านการผลิตและการบริโภค 2) สามารถนำความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ภูมิปัญญาน่ารู้ กิจกรรมที่ 2 ภูมิปัญญาด้านการเกษตร กิจกรรมที่ 3 ภูมิปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ 4 ภูมิปัญญาด้านการจัดการ สวัสดิการและธุรกิจชุมชน กิจกรรมที่ 5                    ภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคและการป้องกัน กิจกรรมที่ 6 ภูมิปัญญาด้านการผลิตและการบริโภค                      3) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียน                   สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 24.00                            และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.89              

References

ฉวีวรรณ กินาวงค์. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชาประเมินเอกสารหลักสูตร. พิษณุโลก :
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ถนัดกิจ บุตรวงค์ และคณะ.(2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้น ป. 5.
วารสารบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 18(80), 135-144.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงไชย ตนทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูวิทยาศาสตร์และคานิยมการบริโภค
อาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ที่สอนโดยใชชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้
ทางวิทยาศาสตร์.สารนิพนธ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา), กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภัสชนันท์พร สันติวสุธา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การห่อขนมไทยภูมิปัญญา
ในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณาราม
(วัฒนรวมวิทยา) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. การประชุมวิชาการ
รับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, วันที่ 22 ธันวาคม 2558 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
นิธิวดี เพียรรักกิจการค้า. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์แบบปฏิบัติการเรื่องโจทย์ปัญหา
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความฉลาดทางอารมณ์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุพา ทรัพย์อุไรรัตน์. (2537). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานการศึกษานอกระบบ
โรงเรียนภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ . (2541). แนวทางสงเสริมภูมิปญญาไทยในการจัด
การศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อังกูล สมคะเนย์. (2542). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.
นครราชสีมา : สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2021