การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตย
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, พลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาคุณลักษณะ
ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน และ3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- 6 โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
จำนวน 40 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1) แบบสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย
ในสถานศึกษา 2)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย
3) แบบวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย
การหาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.53 อยู่ในระดับ มากที่สุด
- ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 พลเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 2 พลเมืองรู้ทันสื่อ รู้เท่าทันข่าว หน่วยที่ 3 พลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม
หน่วยที่ 4 พลเมืองเคารพกฎหมาย หน่วยที่ 5 พลเมืองอาสา มีจิตสาธารณะ และหน่วยที่ 6 พลเมืองรู้สิทธิและหน้าที่โดยแต่ละหน่วยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้หน่วยละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง - ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตาม
วิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 2.56 อยู่ในระดับดี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.27 ซึ่งสูงกว่าก่อนทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2558). สอนหนูให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : เพอลังอิ.
ฉวีวรรณ กินาวงค์. (2542). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : พี.เพรส.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. ม.ป.ท.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2556) . คู่มือการจัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาและทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์ประสานมิตร.
วรรณทิพา รอดแสงคำ และ พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2542). กิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครู. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
วลัย พานิช. 2542. ความเป็นพลเมืองดีในวิชาสังคมศึกษาการวิเคราะห์หลักสูตรมัธยมศึกษาประมวลบทความ. กรุงเทพฯ: รัตติกร การพิมพ์ จำกัด.
วิชัย ภู่โยธินและคณะ. (2551). จิตสำนึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฏีมหาบัณฑิต (ประชากรศึกษา)มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุจิตรา วันทอง. (2554). การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อุไรวรรณ ใจคําปัน. (2554). การใช้ชุดกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮาว จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.
Ester Goh (1998). Processing e Experiential Learning. In the Pfeiffer Library.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา