ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • เชวง ซ้อนบุญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C, ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3Cรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา  ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C  ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นเตรียม ขั้นที่ 2 การวางแผนและตัดสินใจ ขั้นที่ 3 การเล่น และขั้นที่ 4 การสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

   ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารก่อนและระหว่างการทดลองอยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวม ทุกด้านและรายด้าน และหลังการทดลองอยู่ในระดับดีมาก ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน
  2. 2. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองสูงกว่าทั้งก่อนการทดลอง และระหว่าง การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน  และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C
    รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2
    ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา  ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่ม
    แบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C  ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นเตรียม ขั้นที่ 2 การวางแผนและตัดสินใจ ขั้นที่ 3 การเล่น และขั้นที่ 4 การสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ใน
    การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

       ผลการวิจัย พบว่า

    1. 1. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารก่อนและระหว่างการทดลองอยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวม ทุกด้านและรายด้าน และหลังการทดลองอยู่ในระดับดีมาก ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน
    2. 2. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองสูงกว่าทั้งก่อนการทดลอง และระหว่าง การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน  และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน

References

เชวง ซ้อนบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH-3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560ก). ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Function : EF) กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย. การสัมมนาเรื่องการพัฒนาศักยภาพการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลและสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น, 21-23 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเซ็นทารา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560ข). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชรีย์ ซาเสน, เสนอ ภิรมจิตรผ่อง, และวิหาญ พละพร. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MATH-3C โรงเรียนนาหว้าประชาสรรค์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 8(2), 103-113.
ลำพรรณ์ ใจทัศน์. (2558). การพัฒนาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MATH-3C โรงเรียนนาหว้าประชาสรรค์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อโณทัย สุขเจริญโกศล. (2562). EF ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาไทย. 16(148),25-26.
Dawson, P., & Guare, R. (2018). Executive Skills in Children and Adolescents, Second Edition: A Practical Guide to Assessment and Intervention (The Guilford Practical Intervention in the Schools Series). 3rd Edition. New York: The Guilford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2021