การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น อำเภอพาน สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การอ่านจับใจความ, วรรณกรรมท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เพื่อใช้ในการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ แบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น ของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น ของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 20 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจริญเมืองวิทยา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามวรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน 3) แบบฝึกการอ่านจับใจความ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น อำเภอพาน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
- วรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน มีจำนวน 20 เรื่อง แบ่งได้ 2 ประเภทคือ นิทานเบ็ดเตล็ด จำนวน 16 เรื่อง และนิทานขำขัน จำนวน 4 เรื่องผลของการพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นของอำเภอพาน มีเกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 81.07/76.23
- ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น อำเภอพาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ณิชาพร ปรีชาวิภาษ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญมาส ตันเสถียร. (2544). การใช้วิธีอ่านเรื่องเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางการอ่านต่ำกว่าระดับเฉลี่ย โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประพิณพร เย็นประเสริฐ. (2548). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้สื่อท้องถิ่น นนทบุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ประมวล พิมพ์เสน. (2542). นิทานพื้นบ้านอีสาน. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น.
พนิตนันท์ บุญพาที. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
พรรณฤนันท์ ละอองผล. (2546). ครูภาษาไทยกับบทบาทด้านภูมิปัญญาไทย. 60 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ประมวลบทความทางการศึกษาการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้, 37-48. นนทบุรี: พี.เอส.พริ้นท์.
มาเรียม นิลพันธ์. (2547). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วธัญชนก อุ่มสกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สื่อท้องถิ่นพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2541). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). ภาษาและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมัย วรรณอุดร. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบรรณกรรมอีสานและลาวเรื่อง ลำบุษบา (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุกัญญา ภัทราชัย. (2546). วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bloom, B.J. (Ed.), Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H. and Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives : Handbook I : Cognitive Domain. New York : David McKay.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา