ผลการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟัง และการพูดสำหรับเด็กวัยอนุบาล
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ, แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ, เทคนิคการสลับภาษา, ความสามารถด้านการฟังการพูด, เด็กวัยอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยอนุบาล อายุ 3-4 ปี โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 25 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา มีขั้นตอนหลักในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมประสบการณ์ก่อนอ่าน ตรวจสอบการคาดคะเนจากภาพในนิทาน ตรวจสอบการคาดคะเนจากการอ่านนิทาน คาดคะเนคำจากโครงสร้างของประโยคและความหมายของคำ และบูรณาการขั้นตอนของเทคนิคการสลับภาษาเป็นขั้นตอนย่อย ได้แก่ ทบทวน สาธิต ฝึกปฏิบัติ สรุปความเข้าใจ (2) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กวัยอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี โดยแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้ 1) ด้านการฟัง ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (=1.18, SD=.31) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (=2.79, SD=.30) 2) ด้านการพูด ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (=1.23, SD=.28) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (=2.57, SD=.46) 2. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร,
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นงลักษณ์ งามขํา. (2551). ความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
เสริมประสบการณ์โดยใช้ปริศนาคำทาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุษบง ตันติวงศ์. (2538). นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติในการอ่านเขียนของเด็กปฐมวัยใน
เทคนิคและวิธีการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณฑิตา สำราญกิจ. (2551). สภาพปัญหาการดำเนินงานในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต,
ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์. (2554). รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีการสอนแบบตอบสนอง
ด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล.
ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
รติรัตน์ คล่องแคล่ว. (2551). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติ
ที่มีผลต่อทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทยอีสาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., การศึกษา
ปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินดี จำเริญนุสิต. (2558). โอกาสทองของการเรียนรู้ หน้าต่างแห่งโอกาส. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563
จาก http://contestwar.com/download/file/fid/8074
สุชาดา เบาะเปลี่ยน และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและ
ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.31(3), 99-108.
สุภัทรา คงเรือง. (2560). การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย.
พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่าน
กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค
Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.31(3), 1-11.
อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบัน
วิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.
อัจฉรา ผิวพรรณ. (2560). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีผลต่อ
พัฒนาการทางภาษาด้านทักษะการฟังและทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. ปริญญานิพนธ์, หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อุบล สรรพัชญพงษ์. (2556). ปัญหาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ในประมวลสาระชุดวิชาหลักการ
เรียนรู้ภาษาอังกฤษและบริบททางภาษา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
Brown, H. D. (2015). Principles of language learning and teaching. White Plains, NY:
Pearson Longman.
Burry, S., & Judith, O. (1996). Rater agreement indexes for performance Assessment.
Educational and Psychological Measurement. 56(2): 256.
Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: Cambridge
University.
Celce – Murcia, M. (2001). Teaching English as a second or foreign language. United
States: Heinle & Heinle.
Harris, D.P. (1974). Testing English as a second language. New York: McGraw- Hill Book.
Heaton, J.B. (1975). Writing English language tests. London: Longman Group UK Limited.
Krashen, S. D., & Terrell, D. (1983). The natural approach language acquisition in the
classroom. United Kingdom: Pergamum Press.
Lin, Z. (2012). Code - switching: L1-coded mediation in a kindergarten foreign
language classroom. International journal of early years education, 20(4), 356-378.
Rebecca, I. (2004). The effects of storytelling and story reading on the oral language
complexity and story comprehension of young children. Johnson City: East Tennessee State University.
Rezeki, I. (2017). Using story telling technique to improve speaking ability. Banda Aceh:
Ar-naniry State Islamic University.
Shaaban, K. (2000). Assessment of young learners. English teaching forum, 43(1), 34-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา