การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการ แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศิรารัตน์ ปิงเมือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จันทร์พร พรหมมาศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เด่นชัย ปราบจันดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น, แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์, แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม, ความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ ตามแนว ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้เป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

         ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่ภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยองค์ประกอบหลักของกระบวนการเรียนการสอน มีความสอดคล้องตามแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ที่บูรณาการร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยขั้นการจัดการเรียนการสอนที่เรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาค้นคว้า มุ่งใช้กลุ่มขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน และการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่ออ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรมที่สนใจ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด มุ่งให้มีการเสริมต่อการเรียนรู้จากครู โดยอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดและสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และได้ความรู้เพิ่มเติมจากครู และขั้นสร้างความคิดรวบยอด มุ่งให้นักเรียนนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ และการให้ข้อมูลป้อนกลับจากครูเพื่อให้นักเรียนสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ การใช้ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ โดยแต่ละขั้นตอนส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และ 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นดังกล่าว มีความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่ากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว
จดหมายข่าว “ตะวัน”. (2554). มาตรฐานการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของเจเปนฟาวน์เดชั่นกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย, 55, 1-5.
เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2554). มาตรฐานการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของเจเปนฟาวน์เดชั่น
กับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย. จดหมายข่าวตะวัน, 53, 1-5.
เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2561). การสำรวจสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979-2015 ของมูลนิธิญี่ปุ่น. ญี่ปุ่น: เจแปนฟาวน์เดชั่น.
ทาคาชิ มิอุระ. (2555). มุอุระคุงบอกเพื่อน. จดหมายข่าวตะวัน, 58, 8-9.
ฟ้าสว่าง พัฒนะพิเชฐ. (2554). แบบจำลองบันได 3 ขั้น: แนวทางในการสอนการสื่อสารทางการพูดภาษาอังกฤษ. นักบริหาร, 31(4), 41-45.
สริตา บัวเขียว. (2559). Scaffolding...ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), 1-13.
วิภาสิทธิ์ หิรัญรัตน์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคสเเต็ดระหว่างห้องเรียนเสมือนแบบปกติกับห้องเรียนเสมือนที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทาง
การเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (หน้า142-156). ระดับวิทยานิพนธ์, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of education objective, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay Co Inc.
Brown, D. H. (2007). Principles of language learning and teaching (4th ed.). White Plains, NY: Longman.
Crowl, T.K., Kaminsky, S., & Poldell, D.M. (1997). Educational Psychology: Windows on Teaching. Time Mirror Higher Education Group.
Daniels, H. (1994). Literature Circles: Voice and Choice in the Student-Centered Classroom. Markham: Pembroke Publishers Ltd.
Daniels, H. (2002). Voice and Choice in Book Clubs and Reading Groups. (2nd ed.). Portland, Maine: Stenhouse Publishers.
Firth, J.R. (1970). The Tongues of Men ND speech. London: Oxford University Press.
Furr, M. (2004). Literature circles for the EFL classroom. In Proceedings of the 2003 TESOL Arabia Conference. Dubai, United Arab Emirates: TESOL
Arabia.
Gergen, Kenneth J. (1995). Social construction and the educational process.Constructivism in Education.
Hannafin, M., Land, S., & Oliver, K. (1999). Open learning environments: Foundations,methods, and models. In C. Reigeluth (Ed.), Instructional design
theories and models . Mahway, NJ: Erlbaum.
Hammond, J., & Gibbons, P. (2005). Putting scaffolding to work: The contribution of scaffolding in articulating ESL education. Prospect, 20(1), 6-30.
Japan Foundation. (2018). การสำรวจสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979-2015 ของมูลนิธิญี่ปุ่น (หน้า 1-22). Japan Foundation.
Jeanne Ellis Ormrod. (2012). Human leaning (6th Edition). Pearson Education, USA.
Jeni, P. D., Dixie L. S., Janet M. & Vfalerie B. B. (2002). Moving Forward with Literature Circles: USA.
Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Oxford: Pergamum Press.
Linuar, B. & Yamin, M. (2015). Literature circles in ELF literature classroom settings. Didactics, 3(7), 197-211.
Lunenburg, F. C. (1998). Constructivism and technology: instructional designs for successful education reform. Journal of Instructional Psychology,
25(2), 75-81.
Mark, F. (2004). Literature Circles for the EFL Classroom. Yokohama City University.
Mark, P.L. (2007). Building a community of EFL readers: Setting up literature circles in a Japanese university. In K. Bradford-Watts (Ed.) JALT 2006
Conference Proceedings, 998-1012.
Mohamed, E. & Joy, E. (2015). Literature Circles as Support for Language Development. English Teaching Forum: United State.
Roehler, L., & Cantlon, D. (1997). Scaffolding: A powerful tool in social constructivist Classrooms. In M. P. K. Hogan (Ed.), Scaffolding student learning:
Instructional approaches and issues. Cambridge, MA: Brookline Books.
Ronna, J. L. (2011). Literature Circles Go to College. Journal of Basic Writing, 30(2), 53-83.
Veeramuthu A/L V., Wei, H. S., & Tajularipin, S. (2011). The Effect of Scaffolding Technique in Journal Writing among the Second Language Learners.
Journal of Language Teaching and Research, 2 (4), 934-939.
Victor J. M. & Marc, V. M. (2007). Literature Circles That Engage Middle and High School Students. Routledge. Taylor and Francis Group. New York:
London.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind and Society: The Development of Higher Psychological Process. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021