การศึกษาความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • วนัญญา แก้วแก้วปาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความเครียด, นักเรียนวัยรุ่น, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียนเฉลี่ย การพักอาศัย และรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 284 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามเขตพื้นที่อำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .910 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่า (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F–test หรือ One-Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม มีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 51.60) และ 2) นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงครามที่มีเพศต่างกัน มีความเครียดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนเพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย ส่วนนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย การพักอาศัย และรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน  

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ. การ
ประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12. กรมสุขภาพจิต กรุงเทพมหานคร.
กีรติ ผลิรัตน์. (2557). ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่เรียนกวดวิชาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ศึกษาความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย.วารสารมหาวิทยาลัยแม่โจ้. 1(1), น. 42-58.
เบญจพร ตันตสูติ. (2560). เข็นฝันขึ้นภูเขา. กรุงเทพมหานคร: พราว โพเอท.
พนม เกตุมาน และคณะ. (2556). ปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราชที่ไม่สำเร็จ การศึกษา
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2550. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2556. 58(3), น. 271-282.
พรมมณี โฮชิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2561). สื่อสารให้เข้าใจความเครียดในเด็กวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/7625.
ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2561). ความห่างเหินในครอบครัวไทยยุคโซเชียลมีเดีย. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandplus.tv/archives/16917.
รุจิรดา พุฒิตรีภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ จังหวัดตรัง. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร: ตรัง.
วรรณกร พลพิชัย และจันทรา อุ้ยเอ้ง. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (10) ฉบับพิเศษ, 94-106.
วรรณธิรา ชูทอง. (2548). ความเครียดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). การดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(2), 279-285.
สุจิตรา อู่รัตนมณี และสุภาวดี เลิศสำราญ. (2560). ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของ
นักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 31(2), 78-94.
สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2563). ยูนิเซฟเผยผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
พบเยาวชน 8 ใน 10 คนเครียดด้านปัญหาการเงินของครอบครัวมากที่สุด. เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม
2564. เข้าถึงได้จาก https://1th.me/eLcRw.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการปรับตัว. การพยาบาลสุขภาพจิต
และจิตเวช. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี มิ่งประเสริฐ. (2557). การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 40(2), 211-227.
Akriti Goel & Sunayna Bardhan. (2016). Effect of stress on self-efficacy and emotional intelligence among college students of humanities and sciences: A study on gender differences. International Journal of Applied Research. 2(12), 318-328.
Blazer, C. (2010). Student stress. Information capsule research service, 1006, 1-18.
Crandell, T., Crandell, C., & Vander, Z. J. (2012). Human development. (10th ed). New York, NY: McGraw Hill.
Horwitz, A. G., Hill, R. M., & King, C. A. (2011). Specific coping behaviors in relation to adolescent depression and suicidal ideation. Journal of adolescence, 34, 1077-1085.
Lazarus RS, Folkman S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company Inc.
Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.
Selye H. The Stress of Life. (2013). New York: McGraw-Hill, 766.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021