ความสำคัญ และเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลสู่การวิจัยในศตวรรษ 21

ผู้แต่ง

  • พรพิมล ขำเพชร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
  • ปาริฉัตร ศรีหะรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วันดี หิรัญสถาพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ

คำสำคัญ:

การออกแบบและเทคนิค, การเก็บรวบรวมข้อมูล, การวิจัยในศตวรรษ 21

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งเปรียบเทียบที่มีจุดเด่นและข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เนื่องจากการเก็บข้อมูลขึ้นอยู่กับการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เหมาะสม ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร ระยะเวลา ตลอดจนเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือไปใช้ได้ต่อไป ดังนั้นรูปแบบการเก็บข้อมูลการวิจัยในศตวรรษ 21 ย่อมเปลี่ยนเปลี่ยงไปตามพลวัตรของการเปลี่ยนผ่านรูปแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบสมัยใหม่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจะได้มาผ่านการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง และการส่งแบบข้อถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์เป็นหลัก แต่เมื่อเกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเทคนิคการเก็บข้อมูลเกิดขึ้นใหม่ เช่น การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และการส่งทางออนไลน์ ในส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นเรื่องการพบปะและพูดคุยโดยตรง เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดลึกซึ้ง สามารถอธิบายความหมายของพฤติกรรม ปรากฏการณ์และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในบริบทสังคม และวัฒนธรรม หรือเป็นการค้นหารากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบสังคมโดยรวมผ่านการเป็นคนในเข้าไปสังเกตการณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึก หากแต่การเก็บข้อมูลสมัยใหม่ไม่เพียงแค่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น จึงมีรูปแบบการจัดสนทนากลุ่ม เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นเพื่อเข้าถึงและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เทคนิคของการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อเกิดการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้ข้อมูลมีน้ำหนัก และน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง

References

กัลยา วานิชบัญชา. (2543). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2557). เทคนิคการสร้างเครื่องมือในงานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จากhttps://www.reg.cmu.ac.th/qa_new/fileslink/research02_2.pdf
เกษฎา ผาทอง และวรวลัญช์ โรจนพล. (2562). กระบวนทัศน์การแสวงหาความรู้สู่การวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(1), 63-78.
นฤมล จิตรเอื้อ และประสบชัย พสุนนท์. (2561). การใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยเพื่อการศึกษาการดำเนินการที่เป็นเลิศของสถานศึกษา. Veridian E-Journal, 11(2), 2118-2135.
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรี่ยม ศรีทองเพชร. (2529). วรรณกรรมท้องถิ่นจากสมุดข่อยในหอศิลปวัฒนธรรม. วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : หอศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา.
สวนดุสิตโพล. (2563). บริการของสวนดุสิตโพล. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/info-service.php
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารการวิจัยการพัฒนาการบริหาร, 5(1), 9-40.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การทำงานรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ: ประเด็นความท้าทายใหม่ของการสรรหาและการคัดเลือกบุคคลในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(2), 9-22.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล. (2562). เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 จากhttp://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=about-index
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.
Arksey, H. and Peter K. (1999). Interviewing for Social Scientists. Thousand Oaks, Calif.: Sage.
Bernard, H. R. (2000). Research Methods In Anthropology: Qualitative and Quantitative Approaches. 3 rd ed., Walnut Creek, Calif.: Alta Mira Press.
Borden, R. (1972). Participant Observation in Organizational Settings. New York: Syracuse University Press.
Couper, M.P. (2000). Web survey: a review of issues and approaches. Public Opinion Quarterly. 64 (1), 464-94.
Dillman, D.A. (2000). Mail and Internet Survey. The Tailored Design Method. New York: Jon Wiley & Sons.
Fowler, F. J. (2002). Survey Research Methods. Thousand Oaks, Calif.: Sage.
Heath, M. and Stewart, A. (2003). A comparison of online and postal data collection methods in marketing research. Marketing Intelligence & Planning. 21(2), 85-95.
Jackson, A. and DeCormier, R. (1999). E-mail survey response rates: targeting increases response. Marketing Intelligence & Planning. 17(3), 135-140.
Jituea, N. and Pasunon, P. (2018). The use of tools to collect research data for education, the implementation of excellent schools. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(2), 2118-2135.
Krueger, R. A. and Mary, A. C. (2000). Focus Groups: A Practical Guide for Applied Research.
3 rd ed., Thousand Oaks, Calif.: Sage.
Neuman, W. L. (2006). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches.
6 th ed. Boston: Pearson Education, Inc.
Margaret C. Harrell, Melissa A. Bradley (2009). Data Collection Methods Semi-Structured Interviews and Focus Groups. CA: RAND Corporation.
Rosenbaum, H. (1998). Web-based community networks: A study of information organization and access. In: Proceedings of the ASIS.98 Contributed Papers, 516-530.
Schaefer, D. R. and Dillman, D. A. (1998). Development of a standard e-mail methodology: results of an experiment. Public Opinion Quarterly. 62(3), 378-397.
Stewart, D. W. and Prem, M. S. (1990). Focus Groups: Theory and Practice. Thousand Oaks, Calif.: Sage.
Suwanthada, N., Saelee, S. and Kudjon, S. (2013). Application of QR Code to Activity Registration for graduate with import data via the online storage. Information Technology Journal. 9(2), 20-26.
Thirachkul, J. (2012). A Method of Data Collection through the Interview of People who Experienced Mental Health Crisis during Violent Situation in Southern Border Provinces, Thailand. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities. 18(3), 139-165.
William, G. A and Lisa, D. P. (2006). Mixed method data collection strategies. New York: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2021