การศึกษาความคงทนด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM

ผู้แต่ง

  • สุกัลยา สุเฌอ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความคงทน, ความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู, ครูปฐมวัย, การศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคงทนด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 ปี และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อประสิทธิผล ความเหมาะสม และการประยุกต์ใช้กิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรัก และความศรัทธาในวิชาชีพครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม CREAM ในขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1          ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินตนเองด้านความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู ซึ่งมีตัวบ่งชี้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงบันดาลใจในการเป็นครูปฐมวัย ด้านความตระหนักถึงคุณลักษณะที่ดีของครูปฐมวัย ด้านเป้าหมายในการเป็นครูที่รักและศรัทธาในวิชาชีพครูปฐมวัย และด้านการที่จะเป็นครูที่รักและศรัทธาในวิชาชีพครูปฐมวัย และ 2) แบบสำรวจความคิดเห็นของนิสิตต่อกิจกรรม CREAM  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา       

          ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

  1. 1. ผลการประเมินตนเองของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครูของนิสิตหลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 ปี ยังคงอยู่ในทุกตัวบ่งชี้ และ ผลรวมของทุกตัวบ่งชี้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 59, s = 0.56) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมินตนเองของนิสิตหลังเข้าร่วมกิจกรรม CREAM ไปแล้ว 1 สัปดาห์ (m = 4.28, s = 0.52) ที่อยู่ในระดับมาก
  2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยต่อกิจกรรม CREAM พบว่า กิจกรรม CREAM มีประสิทธิผลต่อการเสริมสร้างความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู เหมาะสมต่อการเสริมสร้างความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู และ ควรนำกิจกรรม CREAM ไปใช้เป็นกิจกรรมเสริมความเป็นครูของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

ชนาธิป ดวงตาแสง. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการใช้การเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการเรียนแบบปกติ. หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ญาดา นิลประดิษฐ์. (2553). การเปรียบเทียบกิจกรรมเสริมความเป็นครูในมหาวิทยาลัยที่ต่างกัน : การวิจัยแบบผสม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง. (2556). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กุรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนา ประสานตรี. (2555). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(3), 25-32.
ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ. (2557, 14 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 16-19.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันวิสา กองเสน. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิค การใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาชีววิทยา ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัลยา สุเฌอ. (2554). การศึกษาองค์ประกอบและการส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุกัลยา สุเฌอ. (2563). การพัฒนากิจกรรม CREAM เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 25-40.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gokhale, A. A. (1995). Collaborative Learning enhances critical thinking. Journal of Technology Education, 7(1), 22-30.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1999). Learning together and alone cooperative, competitive, and individualistic learning (5th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Thorndike, E. L. (1931). Human learning. New York: The Century.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020