การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์ โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาจารย์ชลธิชา ภูริปาณิก โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดร.ฐิติชัย รักบำรุง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, การอ่านเชิงวิเคราะห์, Active Learning, Generation Z

บทคัดย่อ

ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของทักษะชีวิต ผู้ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์จะช่วยให้รู้ข้อเท็จจริง เกิดความสามารถในการพิจารณาสาระสำคัญต่างๆ และรู้จักหาเหตุผลมาประกอบการตัดสินใจ การพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะกับเด็กไทยในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าเด็กยุค Gen Z (Generation Z) เพราะทักษะการคิดวิเคราะห์จะช่วยรู้จักพิจารณาสาระสำคัญต่างๆ นำไปสู่การตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้โดยเฉพาะโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นกว่าสมัยก่อน  อย่างไรก็ตามเด็กไทยจำนวนมากยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์เมื่อทำการเปรียบเทียบผลคะแนนประเมินด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น การประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลหรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งพบว่าด้านการอ่านมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงไปอีก ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นผลมาจากการจัดการเรียนการสอนของไทยซึ่งไม่ตอบรับกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นเด็ก Gen Z (Generation Z) หรือผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 หรือ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก Gen Z จะชอบเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเนื่องจากเติบโตมากับโลกดิจิทัล ชอบการเรียนรู้ทางสายตา การลงมือปฏิบัติจริง และการเรียนรู้ผ่านการร่วมมือกัน ผู้สอนจึงควรนำกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์แทนการสอนแบบเก่าที่เน้นไปที่การบรรยาย ซึ่งกระบวนการสอนแบบ Active Learning จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงตนในยุคดิจิทัล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทยเมื่อผลสอบ ‘PISA’ เด็กไทยไม่ถึงค่าเฉลี่ย. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857279
จุฑามาศ เจริญธรรม. (2549). การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด. นนทบุรี: สุรัตน์การพิมพ์
วิทยา พัฒนเมธาดา. (2562). Active Learning : Passive Learning. เข้าถึงได้จาก http://www.kansuksa.com/159/?fbclid=IwAR2eqDyYmZJqscZLIEsyFTEc6zPH25fc_8STPf3dJTeCE18lDxC1dQmAzDY
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/
Adler. C.R. (2018). Seven Strategies to Teach Students Text Comprehension. Retrieved from http://www.readingrockets.org/article/seven-strategies-teach-students-text-comprehension
Abhiyan, S.S. (2008). Active Learning Methodology. Tamil Nadu in Partnership with The School, Krishnamurti Foundation India: Chennai.
Children and Nature Network (2012). Health Benefits to Children from Contact with the Outdoors and Nature. Retrieved from http://www.childrenandnature.org/downloads/C&NNHealth
Benefits2012.pdf
McManus, D. (2001). The two paradigms of education and the peer review of teaching. Journal of
Geoscience Education. 49(6), 423-434.
Nash, Ron J. (2010). The Active Classroom field book: success stories from the active classroom. California: A SAGE Company.
Rassarin. (2018). รู้จัก Gen Z ให้มากขึ้น เมื่อพวกเขาต่างกับ Millenials .ในหลากหลายแง่มุม. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/06/gen-z-vs-millennials/
Tapscott, D. (1998). Growing Up Digital: The Rise of the Net Generation. New York: McGraw Hill.
UpSkill. (2018). คน Gen Z สอนอย่างไรให้ได้ผล. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://upskill.co.th/blog/คน-gen-z-สอนอย่างไรให้ได้ผลfbclid=IwAR17sNRUsIwbaIijNR_wOghvy
1qZpNkAgyS4ceqTVVjwGPjTwbaZzZ4p01I
Visual Lab School. (2019). The Outdoor Environment: Designing for Learning. Retrieved from https://www.virtuallabschool.org/school-age/learning-environments/lesson-3
World Health Organization. (1999). Partner in Life Skills Education. (Meeting Document). Geneva: Development of Mental Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020