รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • จีรัชญ์พัฒน์ ใจเมือง วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สันติ บูรณะชาติ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สมบัติ นพรัก วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา           3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม ทีมร่วมแรงร่วมใจ การสร้างภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ การสร้างชุมชนกัลยาณมิตร โครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการนำสู่การปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินผล .
  2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 6 องค์ประกอบ 2) แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประกอบด้วย การบริหารตามกระบวนการ PIE Model ได้แก่ ขั้นการวางแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติ และการประเมินผล 3) ผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดจากการบริหารตามกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่ง     การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยผลผลิต ด้านคุณภาพครู และ ผลลัพธ์ด้านคุณภาพนักเรียน และ 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่เกิดจากการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งขององค์กร โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อยู่ในระดับมากทีสุด
  1. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความเป็นไปได้ ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง, 1, 10.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2561).มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ออนไลน์) www.isat.or.th › sites › default › files › 4. มาตรฐานการศึกษา 2561.pdf
ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560). PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย [ออนไลน์].https://www.matichon.co.th/columnists/news_484184.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน.(ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล.(2558).กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วรลักษณ์ ชูกำเนิด (2557).รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย.(ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิริยะ วรายุ. (2560). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฏร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (4), 239-252.
ศยามน อินสะอาด, ฐิติยา เนตรวงษ์ และ ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ไอซีทีของครูสังกัดสพฐ. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 975-995.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.(2561).คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีและเลื่อนวิทยฐานะ .สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ออนไลน์) https://www.spm38.go.th/home/attachments/article/3793/คู่มือ%20การประเมิน%2ว.21.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552) การปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง(พ.ศ.5252-2561) กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงการศึกษาธิการ
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
Bolam, R. et al. (2005). Creating and sustaining effective professional learning communities. Nottingham : DFES Publications.
Bryk, A., Camburn, E., and Louise, K.S. (1999). Professional learning in Chicago ElementarySchool:FacilitatingFactorandOrganizational Consequences, Educational Administration Quarterly. 35, 751-781.
Cannata, M. (2007). Teacher Community in Elementary Charter Schools. Education Policy Analysis Archives, 15(11), 1-31.
Eisner, E. (1976). Education connoisseiship and criticism, Their form and function in education evaluation. Journal of Aesthetic Education. 39(2), 192-193
Harris, A. & Muijs, D. (2005).Improving Schools Through Teacher Leadership. Berkshire Open University Press.
Hipp, K. & Huffman, J. (2003). Professional Learning Communities: Assessment-Development-Effects. Paper presented at the meeting of the International Congress for School Effectiveness and Improvement. Sydney: Australia.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Texas : Southwest Educational Development Laborator.
Kenoyer, F. E. (2012). Case study of professional learning community characteristics in an Egyptian private school. Doctorate’s Degree, Columbia International University.
Louis, K, Marks, H, Kruse, S. (1995). Teachers' Professional Community in Restructuring Schools. American Educational Research Journal. 33.
Morrissey, M. S. (2000). Professional Learning Communities: An Ongoing Exploration. Texas: Southeast Educational Development Laboratory.
Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell, J. D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. 2nd edition. Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice-Hall.
Newman, F.M. and Associates. (1996). Authentic Achievement: Restructuring Schools for Intellectual Quality. San Francisco: Jossey-Bass.
Scribner, J.P., Cockrell, K.S., Cockrell, H.D. and Valentine, J.W. (1999). Creating Professional Communities in Schools through Organizational Learning: An Evaluation of a School Improvement Process. Educational Administration Quarterly. 35 (1999): 129-160.
Senge,P.M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York : Doubleday.
Sergiovanni,T. (1998). International Journal of Leadership in Education. Vol.l No.l, p. 37.
Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. and Thomas, S. (2006). Professional Learning Communities : A review of the literature. Journal of Education Change. 7: 221-258.
Vescio, V. and others, 2006. “A Review of Research on the Impact of Professional Learning Communities on Teaching Practice and Student Learning”. Teaching and Teacher Education. 24, 80-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020