ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • สถาพร พฤฑฒิกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, นิสิต, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ชั้นปีสุดท้ายในแต่ละสาขา สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  จำนวน 300  คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นตามสัดส่วนของนิสิตในแต่ละสาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง  .28-.63 , ค่าความเชื่อมั่น .88   และตอนที่ 2 สอบถามปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านการเรียนการสอน และ ปัจจัยด้านสังคม สื่อสาธารณะ โดยปัจจัยแต่ละด้านมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง  .20-.77 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .84 - .94  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,   สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  

  1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
  2. ปัจจัยด้านผู้เรียน โดยตัวแปรเชาว์อารมณ์ (S_EQ) และตัวแปรแรงจูงใจ (S_MO) ปัจจัยด้านการเรียนการสอน โดยตัวแปรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (S_AT) และปัจจัยด้านครอบครัว โดยตัวแปรการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของผู้ปกครอง(S_DE) ร่วมกันส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต ได้ร้อยละ 67.90  ( R2 = .679 )  แสดงสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

                         Z   =  .44(Z S_EQ) + .21(ZS_MO) + .15(ZS_AT) + .13(ZS_DE)

References

กนกวรรณ สมบุญ และคณะ (2559) ในเอกสาร การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง วิจัย ประจำปี 2559 ( 1 เม ย 2559) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง หน้า 247- 254
ธัญธิดา เหิมหัก, รณิดา เชยชุ่ม และวัญญา วิศาลาภรณ์. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(12), 25-30.
ธนินทร์ รัตนโอฬาร. (2553). การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). “ความสัมพันธ์ระหว่างสถิติกับการวิจัย” วารสารการวิจัยสักทอง, 15(1), 1-13.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภาคภูมิ อิมสอาด. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ภารดี อันต์นาวี (2549) การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(2), 63-76.
เมธี ฉายอรุณ (2555). ภาวะผู้นำด้านการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของผู้บริหารระดับคณะวิชา สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ศักดิ์ชัย จันทะแสง และกันตภณ ธรรมวัฒนา. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(ฉบับพิเศษ), 130-144.
สุนันทา คะเนนอก และชีพสุมน รังสยาธร. (2551) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงดูจากครอบครัว
ความภาคภูมิใจในตนเอง และภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 29(1), 42-55.
สุพัตตรา แก้ววิชิต. (2548). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภัทรา ภูษิตรัตนาลี. (2547). ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และอุษา ศรีจินดารัตน์. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. รายงานการวิจัย ฉบับที่ 104. สถาบันวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ.
Bass, B.M. and Avolio, B.J. (1994) Transformational Leadership and organizational culture The International Journal of Public Administration, 17Z3-4). pp. 541-554.
Glickman, C. D. and J.M. Ross-Gordon. (2007) Supervision and Supervision and Curriculum Development. 135-148. Instructional Leadership: A
Developmental Approach. 7thed. Boston: Allyn & Bacon.
Gardner, H. (1993). Frames of mind: The theory of multiple intelligences (10 anniversary ed.). New York, NY: Basic Books.
Lawson, K. (2008). Leadership Development Basic. Nashville, TN, ASDTD Press.
McClelland, D.C. (1987). Human motivation. Cambridge: Cambridge University, Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020