การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม

ผู้แต่ง

  • อัจฉรีย์ พิมพิมูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารายละเอียดคำอธิบายรายวิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม 2) ประเมินคุณภาพเนื้อหาบทเรียน 3) สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ และ 4) ประเมินคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 38 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลศึกษารายละเอียดคำอธิบายรายวิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม
ประกอบด้วยเนื้อหา 7 บทเรียน 42 เนื้อหาย่อย 2) ผลการประเมินคุณภาพเนื้อหาบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ การประเมินความเหมาะสมของการจัดลำดับเนื้อหา ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 และการประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาบทเรียน ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 3) ผลการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้จำนวนข้อสอบที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ จำนวน 113 ข้อ และผลการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และ 4) ผลการประเมินคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์จำนวน
94 ข้อ มีค่าระดับความยาก อยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.76  มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91

References

กมลวรรณ เฉิดฉันท์พิพัฒน์. (2553). การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสานที่มีแบบทางการเรียนต่างกันวิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร .วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์เกสร บุญอำไพ และนุสรา พีระพัฒนพงศ์. (2559). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554. วารสารศึกษาศาสตร์. 27(2), 162-171.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยนุช วงศ์กลาง. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ในรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์. 30(2), 101-109.
พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความคาดหวังวิชาฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). ระเบียวิธีวิจัยทางคอมพิวเตอร์ศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
วิษณุ บัวเทศ และวสันต์ เพชรพิมูล. (2553). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ทุนอุดหนุนวิจัยงบประมาณบำรุงการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2552, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศศินันท์ นิมมานเทวินทร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักผ่านห้องเรียนอัจฉริยะที่มีผลต่อกระบวนการทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สนิท ตีเมืองซ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรูร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพ ทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์. 27(2), 13-29.
โสภาพันธ์ สอาด. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020