การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ กระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ

ผู้แต่ง

  • ณชนก หล่อสมบูรณ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โสมฉาย บุญญานันต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศิลปะ, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, นวัตกรรมการสอนศิลปะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ โดยศึกษาบทความวิจัยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562 จากฐานข้อมูล ProQuest, Jstor, SAGE, และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยอย่าง CUIR และ Thaijo โดยคัดเลือกงานวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนด

          จากการทบทวนวรรณกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ จำนวน 14 เรื่อง พบว่าสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทงานวิจัย อันได้แก่ งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ งานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยแต่ละวิธีการวิจัยมีจุดแข็งและจุดอ่อน ซึ่งการวิจัยแบบผสมวิธีมีลักษณะที่เหมาะสม สามารถลดจุดอ่อนของงานวิจัยเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณที่ไม่สามารถทำได้

References

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.
วาทินี บรรจง. (2556). ผลของการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงแออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทราวดี มากมี. (2559). การออกแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 19 – 31.

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาครุศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561ก). สภาวการณ์การศึกษาไทย พ.ศ.2559/2560 แนวทาง ปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุคThailand 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561ข). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ.2559/2560. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561ค). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากลปี 2560 (IMD 2017). นนทบุรี: เซ็นจูรี่.
แสงนาง ดีประชา. (2530). ศิลปะกับมนุษย์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัมพร จงเสรีจิตต์ และนิคม มูลเมือง. (2556). การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(2), 114 – 125.
Brooks, A. (2016). STEM Educations’ Perceptions of Technologies’ Impact on Innovation, Creativity, and Design Thinking in Lesson Design ans Learning. (Doctoral Thesis), Stephen F. Austin State University.
Callella, T. (2015). STEM + Design Thinking Training: Investigation of Perceived Changes in Self-Efficacy, Pedagogy, and Conceptual Development at The K-5 Level. (Doctoral Thesis), University of Southern California.
Campos, L. (2014). Design Thinking in Education: A Case Study Following One School District’s Approach to Innovation for the 21st Century. (Doctoral Thesis), The University of SanFrancisco.
Chemi, T. & Du, X. (2017). Art-Based Method in Education Around the World. River Publishers.
Chesson, D. (2017). The Design Thinking Profile: Creating and Validating a Scale for Measuring Design Thinking Capabilities. (Doctoral Thesis), Antioch University.
Crane, A. (2018). Exploring Best Practices for Implementing Design Thinking Processes in K12 Education. (Doctoral Thesis), The University of Kansas.
Cupps, E. (2014). Introducing transdisciplinary design thinking in early undergraduate education to facilitate collaboration and innovation. (Master’s Thesis), Iowa State University.
Dam, R. & SIANG, T. (2019). What is Design Thinking and Why Is It So Popular?. Retrieved from https://www.interaction-design.org/literature/article/what-is-design-thinking-and-why-is-it-so-popular
Hardaway, W. (2018). Design Thinking as a Tool to Address Inequities at a Higher Education InstitutionI. (Master’s Thesis), California State University.
Harris, R. (2017). Teachers as Designers: Creativity, Innovation and Technology in Professional Development. (Doctoral Thesis), Columbia University.
Lahey, J. (2017). How Design Thinking Became a Buzzword at School. Retrieved from https://www.theatlantic.com/education/archive/2017/01/how-design-thinking- became-a-buzzword-at-school/512150/
Neff, Y. (2018). What If You were a Superhero? Teaching Gender and Social Justice Through Design Pegagogt in a Pre-Service Art Treacher Introductory Course. (Doctoral Thesis), The University of Arizona.
Noel, L. (2018). Teaching and Learning Design Thinking through a Critical Lens at a Primary School in Rural Trinidad and Tobogo. (Doctoral Thesis), North Carolina Stae University.
Plattner, H. (2010). An Introduction to Design Thinking Process Guide. Retrieved from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873 /attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf
Sato, M. (2010). An investigation into the relationship between design thinking and skilled knowledge in craft education. (Doctoral Thesis), University of Roehampt.
Vanada, D. (2014). Practically Creative: The Role of Design Thinking as an Improved Paradigm for 21st Century Art Education. Techne Series, 21(2), 21 – 33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020