องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิกและกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ปิยะพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ อัจฉรีย์ พิมพิมูล มาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, รูปแบบการเรียนรู้, ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิก และกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบเพื่อพัฒนาทักษะ ด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย  หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนรู้  และการประเมินผล  องค์ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) แจ้งจุดประสงค์  (2) กำหนดปัญหา  (3) วางแผนใช้สารสนเทศ (4) จัดการข้อมูล  (5) ประยุกต์ใช้ข้อมูล และ (6) ประเมินผล  2) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิก และกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบเพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย  4.60  

References

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงเพ็ชร ปะกัง.(2553). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การ
ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรวดี จันทร์รัศมีโชติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่การเรียนรู้ด้วยกระบวนการ
วิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์. 26(3), 14-17.
วิจารณ์ พานิช .(2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Eisenberg, M.B. & Berkowitz, R.E.(1988). Curriculum initiative: an agenda and strategy for library media programs. Norwood, NJ: Ablex.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019