การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบ ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ สรวงสมบูรณ์ จันทร์พร พรหมมาศ นาวาตรีพงศ์เทพ จิระโร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์, การสืบสอบ, แนวคิดเมตาคอกนิชัน, มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับ แนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยดำเนินการเป็น  4 ระยะ  คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน         ระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพ และทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้กระบวน การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน  36 คน ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสถิติที  

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขัดแย้งทางความคิด ขั้นที่ 2 ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 3 สรุปและตรวจสอบความคิด และขั้นที่ 4 สะท้อนความคิด        2) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเอง      หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

จันทร์พร พรหมมาศ. (2541). ผลการใช้วงจรการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ สัมฤทธิผลและ พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้น.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทนงเกียรติ พลไชยา. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ เมตาคอกนิชัน ความเข้าใจ มโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน
ของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ภวิกา ภักษา. (2553). ผลการตั้งเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของ
ตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการศึกษา, คณะครุศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพิน พิพิธกุลและปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ (2). ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครั้งที่
2).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.
สิริพร ทิพย์คง. (2558). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ความรู้คณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุนีย์ คล้ายนิล. (2547).ความรู้และทักษะของเยาวชนไทยสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ (ฉบับสมบูรณ์).กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้ง
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555).ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. เข้าถึงได้จาก
https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zScUJOOV9ldUNfTlk/view
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). เข้าถึงได้
จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
อลิสา ชมชื่น.(2550). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีการพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ การสื่อสาร และการให้เหตุผล เพื่อเสริมสร้าง
สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandura, A., (1997). Self-efficacy: the exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Bandura, A. & Cervone, D. (1986). Differential engagement of self-efficacy and Intrinsic in cognitive motivation. Organizational Behavior and
Human Decision Process, 38, 92-113.
Cooney, T. J., Davis, E.J., & Herderson, K. B. (1975). Dynamics of teaching secondary school mathematics. Boston: Houghton Mifflin Company.
Flavell, J.H., Miller, P.H., & Miller, S. A. (1993). Cognitive development. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, Inc.
Hine, G., Reaburn, R., Anderson, J., Galligan, L., Carmichael, C., Cavanagh, M.,Ngu, B., & White, B. (2016). Teaching secondary mathematics. Port
Melbourne, Australia: Cambridge University Press.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching (7th ed.). Boston: Pearson Education, Inc.
Kilbane, C. D., & Milman, N. B. (2014). Teaching models: Designing instruction for 21St century learners. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Krulik, S., Rundnick, J., & Milou, E., (2003). Teaching mathematics in middle school: a practical guide. Boston: Allyn and Bacon.
Llewellyn, D. (2013). Teaching high school science through inquiry and argumentation. (2nded). Thousand Oaks: California Corwin.
McCallie, A. N. (2016). The impact of self-reflection on sixth grade students in a mathematics course (Order No. 10140114). Available from
ProQuest Dissertations & Theses Global. (1821368845). Retrieved from https://search-proquest-com.edatabases.
lib.buu.ac.th/docview/1821368845?accountid=44783
Sheffield, L. J., & Cruikshank, D. E. (2000). Teaching and learning elementary and middle school mathematics. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Trowbridge, L.W., & Bybee, R.W. (1986). Becoming a secondary school science teacher. 4th ed Columbus: Merrill.
Wilson, J. W. (1971). Evaluation of learning in secondary school mathematics. In Handbook On formative and summative evaluation of student
learning. Bloom B.S., Hasting J.T., and Madaus G.F. New York: McGraw-Hill Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019