โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุขมิตร กอมณี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ, โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน, การเรียนแบบภควันตภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ออกแบบพัฒนาและศึกษาผลการใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยมีขั้นการวิจัย 3 ระยะ คือ

             ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ ด้วยการ (1) ศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการเรียน(2) สำรวจศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (3) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาที่ใช้เพื่อการศึกษาสำรวจสภาพแวดล้อม จำนวน 389 คน  กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์

             ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาโมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์โมเดล(2) การสังเคราะห์โมเดล (3) การสร้างโมเดล และ (4) การประเมินโมเดล แหล่งข้อมูล ได้แก่  กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินโมเดลฯจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินโมเดล

             ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยการนำโมเดลฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้คือ โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมที่ใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพจำนวน 5 ชุด (2) แบบประเมินทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (3)แบบทดสอบการออกแบบสารเพื่อการเรียนการสอน

          ผลการวิจัยพบว่า

             1.องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ  มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) ผู้เรียน (Learner) (2) การเชื่อมต่อเครือข่าย(Network) (3) แหล่งข้อมูลเรียนรู้(Learning Source) (4)โปรแกรมประยุกต์ (Application Software ) (5) อุปกรณ์ (Device) และ (6)นโยบาย(Policy)

             2.โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย บริบท5 ด้านคือ (1) ปรัชญา (2) ปณิธาน (3) เป้าหมาย (4) หลักการและ (5)วัตถุประสงค์  ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ(1) ปัจจัยด้าน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา(2)ปัจจัยด้านองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ (2) ปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ (4) ปัจจัยด้านรายวิชาเรียน  กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 7 ขั้นดำเนินงาน คือ (1) การวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย (2)การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ (3) การวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (4)การกำหนดวิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (5)การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมทางการ (6) การสร้างและจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน และ (7) การประเมิน ผลลัพธ์ (Output) คือ (1) ทักษะการสื่อสาร (2)ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ (1).ข้อมูลจากการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนจากกิจกรรมแต่ละครั้ง (2)ข้อมูลจากผลการประเมินทักษะแต่ละด้านของผู้เรียน

             3.การใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลปรากฏว่า (1) คะแนนทดสอบการออกแบบสารของผู้เรียนหลังการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสูงกว่าก่อนการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (2) ทักษะการสื่อสารและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ที่ระดับA(สูง) (  = 2.43)

References

จันทร์พิมพ์ สายสมร. (2552). สภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). ภาพอนาคตการศึกษาไทย : สู่การศึกษาภควันตภาพ. (คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการ
สอน). กรุงเทพฯ : สํานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และเชาวเลิศ เลิศชโลฬาร.(2536)“ระบบและการจัดระบบ,” ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดระบบทางการศึกษา หน่วยที่ 1. หน้า 1-62. นนทบุรี :
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์.(2555) “การจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา,”ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-7
หน้า 6-7. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2557)รายงานผลการสัมมนาของศูนย์วิชาการและเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม, 2561<
<https://www.stou.ac.th/Schools/sst/main/KM/km-post2557.html>
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(2):, 169.
นพดล ผู้มีจรรยา. (2557). การให้บริการแบบเคลื่อนที่สำหรับมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 4(7), 34-42.
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (2555). การออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560,<http://cyber class.msu.ac.th/cyber
class/library/> .
Bloom, B.S.. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York:
McKay
Klein, S. B.(1991). Learning : Principles and Applications. New York : McGraw-Hill. Publishing Company,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019