การสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่จากมือไล่ฆ้องของครูประสิทธิ์ ถาวร

ผู้แต่ง

  • วิทยา ศรีผ่อง คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, มือไล่ฆ้อง, ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่จากมือไล่ฆ้องของครูประสิทธิ์ ถาวรมีจุดประสงค์เพื่อศึกษามือไล่ฆ้องของครูประสิทธิ์ ถาวร ขั้นที่ใช้สำหรับเพลงเดี่ยว เพื่อสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงพญานาค 3 ชั้นจากมือไล่ฆ้องของครูประสิทธิ์ ถาวร และเพื่อสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงพญานาค 3 ชั้น โดยศิลปินท่านอื่น ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ จากการสัมภาษณ์และการลงภาคสนาม รวมถึงประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง

ผลการศึกษาข้อที่ 1 พบว่ามือไล่ฆ้องของครูประสิทธิ์ ถาวร ขั้นที่ใช้สำหรับเพลงเดี่ยวจัดแบ่งหมวดหมู่ของมือไล่ฆ้องได้ 8 กลุ่มคือ 1.กลุ่มที่ตีแบ่งมือซ้ายและขวา 2.กลุ่มที่ตีสองมือทั้งซ้ายและขวาพร้อมกัน 3.กลุ่มที่ตีเก็บแบ่งมือแล้วตีซ้ายยืนเสียงส่วนมือขวาเดินทำนอง 4.กลุ่มที่ตีไขว้มือ  5.กลุ่มที่ตีสลับมือซ้ายและขวาเป็นทำนอง 6.กลุ่มที่ตีสะบัดนำดำเนินทำนอง 7.กลุ่มที่ตีสะบัดลงสลับกับตีสะบัดขึ้น และ 8.กลุ่มที่ตีกวาด

ผลการศึกษาข้อที่ 2 การสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ นำมือไล่ฆ้องของครุประสิทธิ์ ถาวรทั้ง 48 แบบ มาสร้างสรรค์ทางเดี่ยวบนทำนองหลักเพลงพญานาค 3 ชั้น

ผลการศึกษาข้อที่ 3 ใช้วิธีการสร้างสรรค์ทางเดี่ยวของผู้วิจัยและศิลปินท่านอื่นมีวิธีการสร้างสรรค์เที่ยวแรกและเที่ยวหลังให้มีความแตกต่างกัน และนำทำนองทางเดี่ยวอื่นๆจากประสบการณ์ของตนมาสร้างสรรค์เป็นทำนองเชื่อมร่วมกับมือไล่ฆ้องเนื่องด้วยมือไล่ฆ้องของ ครูประสิทธิ์ ถาวร ยังมีจำนวนไม่เพียงพอสำหรับการนำมาใช้สร้างสรรค์ทางเดี่ยวได้ทั้งหมด

References

กณพ กิ้มเฉี้ยง.(๒๕๖๐). การปรับวงปี่พาทย์เสภา ของ ครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทยบัณฑิตศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จุฑาทิพย์ สุขขุม. (๒๕๖๐).ทางฆ้องวงใหญ่เพลงเรื่องแขกไทร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางค์ไทยบัณฑิตศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จำลอง ม่วงท้วม. (๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑).สัมภาษณ์.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (๒๕๓๘). มือฆ้อง: ศิลปะและหลักการบรรเลงฆ้องวงใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ ๒. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี.(๒๕๔๒).สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ชุมพล คุณยศยิ่ง. (๒๔ เมษายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (๓๐ มิถุนายน๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ถาวร สิกขโกศล. (๒๕๓๓).วิธีตีฆ้องวง ดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๒๒. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ทรงยศ แก้วดี. (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ทรงยศ แก้วดี. (๑๑พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ธงชัย ถาวร. (๒๔ เมษายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ธนิต อยู่โพธิ์.(๒๕๓๐). เครื่องดนตรีไทย.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ธีรวัฒน์ นพเสาร์.(๒๕๕๙). แบบฝึกไล่มือฆ้องวงใหญ่ตามแนวทางของครูประสิทธิ์ ถาวร เพื่อประสิทธิผลในการต่อเพลงเดี่ยว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางค์ไทยบัณฑิตศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ธีรวัฒน์ นพเสาร์. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
บุญช่วย โสวัตร. (๒๕๓๑).ลักษณะพิเศษของทางเดี่ยว.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บริษัทรักศิลป์.
ประยุทธ์ กองวุฒิ. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
ภูดินันท์ ยินดี. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
มนตรี ตราโมท.(๒๕๓๘).ดุริยสาส์น.กรุงเทพฯ:ธนาคารกสิกร จำกัด (มหาชน).
มนตรี ตราโมท. (๒๕๕๕).ฟังและเข้าใจเพลงไทย.กรุงเทพฯ.
มนตรี พันธ์รอด. (๒๕๕๙). แนววิธีการเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ของนักดนตรีสำนักพาทยรัตน์.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางค์ไทยบัณฑิตศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (๒๕๔๒). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ราชบัณฑิตยสถาน.(๒๕๔๒).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ:นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๓๖).สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้อง.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สหธรรมมิกจำกัด.
วัชรินทร์ ม่วงท้วม.(๒๕๕๙).กลวิธีการบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงพญาครวญ ๓ ชั้น ทางครูจำลอง ม่วงท้วม.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชา
ดุริยางค์ไทยบัณฑิตศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
วิชา ศรีผ่อง. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
สงบศึก ธรรมวิหาร.(๒๕๔๒).ดุริยางค์ไทย.พิมพ์ครั้งที่ ๓.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาน น้อยนิตย์. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
เสนาะ หลวงสุนทร. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
อนันต์ชัย แมรา. (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑). สัมภาษณ์.
อุทิศ นาคสวัสดิ์. (๒๕๒๖). มือฆ้องท่านครู. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
เอกชัย ละชั่ว และคณะ. (๒๕๕๙). การประพันธ์เพลง“ขึ้นพลับพลา ๑๒ ภาษา”.ศิลปนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีไทยภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปะ
นาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020