การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นาซอฟ๊ะ ฮะซา, สุนทรา โตบัว, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน, รูปแบบของ S S E M A, โรงเรียนนาหลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการใน   ชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร  2) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการครูที่สนใจเข้าร่วมการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรม การพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบบันทึกข้อมูลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบบันทึกผล การเรียนรู้ของครู แบบวัดเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ทั้งนี้ มีการหาคุณภาพเครื่องมือโดยเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบ เพื่อนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้วยรูปแบบของ S S E M A มีลักษณะสำคัญ คือ 1. การริเริ่มตนเอง (Self made: S) 2. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking: S) 3. การเสริมแรงจูงใจ  (Extra Motivation: E)  4. การดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ Mentoring: M) และ 5. การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning: A) ทำให้ครูมีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75.58 คุณภาพของผลงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 5 คน และระดับดี จำนวน 4 คน และครูมีเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีมาก

References

กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการสอน
คณิตศาสตร์. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ปานรวี ยงยุทธวิชัย และดนัย อู่ทรัพย์. (2552). นวัตกรรมการศึกษา ชุด ตัวอย่างการวิจัยปฏิบัติการ (action research) ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
รัตติมา โสภาคะยัง. (2556). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้: การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชาการ, กรม. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สามลดา.
อมรรัตน์ งามจิตร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบล
อากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Briggs. M., Woodfield. A., Martin.C., Swatton.,P. (2003). Assessment for Learning and Teaching in Primary School. (2nd ed.), London: SAGE
Publications Ltd. p. 9
Checkland, P. (1981). Systems Thinking, Systems Practice. London: Wiley & Sons.
Goodman R. I., K. A. Fletcher & E. W. Schneider, (1980). “The Effectiveness Index as Comparative Measure in Media Product Evaluation”.
Educational Technology, 20(9), 30-34.
Goodnough, K. (2003). Facilitating action research in the context of science education: Reflections of a university researcher. Educational Action
Research, 11(1), 40 – 63.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
Knowles, M.S. (1975. The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. Engwood Cliff, New Jersey: Prentice Hall Regents.
Ponte, P., Ax, J., Beijaard, D., & Wubbels, T. (2004). Teachers' development of professional knowledge through action research and the
facilitation of this by teacher educators. Teaching and Teacher Education, 20(6), 571-588.
Skinner, B. F. (1974). About Behaviorism. New York: Alford A Kuapt F.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020