การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ ธาราพงษ์, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์, วรวุฒิ เพ็งพันธ์, ปริญญา ทองสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, เพศวิถีไทยของนักศึกษา, นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2     ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  หลักสูตรฝึกอบรม  แผนการฝึกอบรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบประเมิน    ความพึงพอใจ  แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที

            ผลการวิจัย พบว่า

            1) หลักสูตรฝึกอบรม เพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพสูง มีระดับความเหมาะสมมาก (M = 4.29, SD= .34)

          2) ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับฝึกอบรมที่อบรม ด้วยหลักสูตรเพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)

          3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่อบรมด้วยหลักสูตรเพศวิถีไทยของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี มีระดับความพึงพอใจ อยู่ที่ระดับมาก (M = 3.88, SD = .65)

References

ขนิษฐ์ศรี ลี้อารีย์. (2552). การบริหารและปัญหาการบริหารหลักสูตรในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา เขตการศึกษา 12.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิตติมา ภาณุเดชะ, ณัฐยา บุญภักดี และธัญญา ใจดี. (2550). สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์หัวใจสำคัญของสุขภาพผู้หญิง. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
จุลนี เทียนไทย. (2548). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลลดา ศรเดช. (2550). การเห็นคุณค่าพรหมจารีของวัยรุ่นหญิง.ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีระพงษ์ ดำรงค์ไชย. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขา
วิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิเทศ ตินณะกุล. (2551). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แน่งน้อย ย่านวารี. (2552). คู่มือวิทยานิพนธ์ ฉบับปรับปรุง 2552. อุดรธานี: สำนักโครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระสมโภชน์ โว้วงษ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการครองชีวิตในวัยเรียน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พิมพวัลย์ บุญมงคล. (2551). แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาในการศึกษาเพศวิถี. ใน ธวัชชัยพาชื่นและ พิมพวัลย์ บุญมงคล (บรรณาธิการ). วิพากษ์องค์ความรู้และธรรมเนียม
ปฏิบัติเรื่องเพศวิถีศึกษาในสังคมไทย. การประชุมประจำปีเพศวิถีศึกษาในสังคมไทย ครั้งที่ 1. หน้า 27-36. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.
วารุณี ฟองแก้ว. (2554). การป้องกันเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่น: ประเด็นท้าทาย และแนวทางการแก้ไข. เชียงใหม่: นพบุรี.
ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). คู่มือเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมบุญ ศิลป์รุ่งธรรม และมยุรี ถนอมสุข. (2553). พฤติกรรมทางเพศของนิสิตปริญญาตรี สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา ชั้นปี ที่ 1 - 3 ปี การศึกษา 2553 คณะศึกษาศาสตร์
และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน, การประชุมวิชาการ แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9.
สรายุทธ ชาญชลสมุทร. (2556). เพศวิถีของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สายทอง สรานนท์เมธีกุล, หนึ่งฤทัย วันงาม, สุทธิดา ประภาวง, สุกานดา นันตา, พัชรินทร์ วินยางค์กูล และพัชรา ก้อยชูสกล. (2553). การเปรียบเทียบค่านิยมทางเพศและ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 5(1), 91
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติอุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.info.mua.go.th/information/index.php.
สิริวรรณ ธัญญาผล. (2548). ค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสตรี,
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรมิตร แสงสุระ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุไลพร ชลวิไล. (2550). เพศไม่นิ่ง: ตัวตน เพศภาวะ เพศวิถี ในมิติสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ภาคภาคีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ.
อมรศรี ศรีอินทร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะชีวิตเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่เหมาะสม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข. (2553). การพัฒนารายวิชาสหศาสตร์ในหมวดศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างความตระหนักทางเพศวิถีของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taba, H. (1978). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Warchington, Ohio: Jones.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020