ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน

ผู้แต่ง

  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ, รูปแบบการประเมินของโพรวัส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอนโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส   กลุ่มเป้าหมาย  คือ นิสิตฝึกปฏิบัติการสอน ของคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เป็นอาสาสมัคร จำนวน 15 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน  20 ข้อ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการฝึกอบรม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยอาศัยการแจกแจงที (One Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า  1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบคือ หลักการและที่มา วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ เนื้อหา ตารางกิจกรรม แผนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.67, SD = 0.642) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ   สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส 2.1) ผลการประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตรฝึกอบรม จากผลการประเมินวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตรฝึกอบรม 6 ข้อ กำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ  50  ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์ข้อที่  1, 3, 5, และ 6 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์ข้อที่  2 และ 4 สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและผลการศึกษาเจตคติต่อการฝึกอบรมเรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.73, SD = 0.442.2) ผลการประเมินผลผลิตของหลักสูตรฝึกอบรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติต่อการฝึกอบร มเรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ด้านผลที่ได้รับจากการฝึกอบรม  อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.82, SD = 0.41

References

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาลินี เกษรพิกุล. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยด้านการสอนคิดวิเคราะห์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(2), 200-
208.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผ่องพรรณ จรัสจินดารัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมรูปแบบของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิษณุ วรดิษฐ์, กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล, วินิจ เทือกทอง และ อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับนักศึกษา
สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ. Viridian E-journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 676-690.
มารุต พัฒผล. (2561). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาพลักสูตร. เชียงใหม่: เดอะโนว์เลจเซ็นต์เตอร์.
สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์, และคงกฤช ไตรยวงค์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการ
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
Bader, G.E. & Bloom, A.E. (1994). Measuring Team Performance. California: Richard Chang Associates.
Catina S. Stewart, (2017). Secondary Teachers’ Perceptions of the Effectiveness of a Professional Learning Community. Doctoral Study of the
Degree of Doctor of Education, Walden University, Washington, United States.
Goldstein, I.L. & Ford, K. (2002). Training in Organizations: Needs assessment, Development and Evaluation (4th ed.). Balmont: Wadsworth.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education (3rd ed.). New York: MCE Graw – Hill.
Hord, S.M. (1997). Professional learning Communities; Communities of inquiry and improvement. Austin, Texas: Southwest Education
Development Laboratory.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday, New York, NY: MCB UP Ltd.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World Inc.
Thompson, S. C., Gregg, L., and Niska, J. M. (2004). Professional learning communities, leadership and student learning, Research in Middle Level
Education. Retrieved from: http://www.nmsa.org/Publications/RMLEOnline/tabid/101/Default.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020