การศึกษาการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอน ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ กับหลักสูตรแกนกลางสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
คำสำคัญ:
ความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอน, การรู้เรื่องคณิตศาสตร์, ข้อสอบ PISA, ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาครูและนักศึกษาครูให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง 2. เพื่อพัฒนาผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาที่ทำการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2562 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ จำนวน 200 คน และครูคณิตศาสตร์ จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ครูและนักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง คิดเป็นร้อยละ 71.58 มีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง
- 2. ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ได้แก่เรื่อง การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการ CS6 Model
- 3. ผลการศึกษาความคิดเห็นในการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.79 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ครูคณิตศาสตร์เห็นด้วยในด้านหลักสูตรมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้สอน และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับ
References
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศ
และความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสพับลิเคชั่น.
จิราพร รอดพ่วง และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์
นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลป,. 10(1): 281 – 296.
พรนค์พิเชฐ แห่งหน และวันชัย ธรรมสัจการ. (2560). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. Veridian E-Journal Silpakorn University
ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1): 919 – 935.
ศยามน อินสะอาด และคณะ. 2560. การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ดอซีทีของครูสังกัด สพฐ. Veridian
E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2): 975 – 995.
สายสุดา เตียเจริญ และนิจวดี เจริญเกียรติบวร. (2560). แนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนสู่การแข่งขันระดับนานาชาติในโรงเรียนประถม
ศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2): 12 – 25.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุวรรณา จุ้ยทอง. (2558). การศึกษาวิธีสอน เทคนิคการสอน และพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัด
ปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์. 10(1): 156 - 168.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
Shulman,L S. (1987). Knowledge and teaching: Foundations of the new reform. Harvard Educational Review. 57(1): 1-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา