องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบแบบจำลองเชิงทฤษฎีขององค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์(คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนขององค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างลักษณะของสถานศึกษาและเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างระดับ ทั้งในระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์โดยองค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์มี 6 ด้านประกอบด้วย 1) คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ 2) คุณลักษณะด้านการเรียนรู้และการสอน 3) คุณลักษณะด้านความสามารถเชิงผลิตภาพและความชำนาญเชิงวิชาชีพ 4) คุณลักษณะด้านการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการและการปฏิบัติ 5) คุณลักษณะด้านการวัดและประเมินผล 6) คุณลักษณะด้านสังคมกฎหมายและจริยธรรม ปัจจัยระดับนักเรียนมี 3ตัวแปร ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนของผู้ปกครองในการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2)รายได้ของผู้ปกครองและ 3) การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ ปัจจัยระดับห้องเรียนมี 3 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) การพัฒนาวิชาชีพครู 2) ภูมิหลังทางเทคโนโลยีของครู และ 3) การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยระดับสถานศึกษามี 4 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การกำหนดกลยุทธ์และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ 3)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) การสนับสนุนของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบ ด้วยผู้บริหารโรงเรียนตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน 35 คน ผู้บริหารโรงเรียนปกติ(ขนาดใหญ่) 35 คน ครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 170 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,700 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,940 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 3 ฉบับ คือฉบับนักเรียน ฉบับครู และฉบับผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับขั้นตอนที่หนึ่งและอันดับขั้นตอนที่สอง การวิเคราะห์กลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 และการวิเคราะห์พหุระดับ 3 ระดับ ด้วยโปรแกรม HLM 6.02 Student Version ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ผลการพัฒนาแบบจำลองเชิงทฤษฎีพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นคุณลักษณะรวมที่วัดจากคุณลักษณะหลัก 6 ด้าน และคุณลักษณะย่อย 31 ตัวแปร ในรูปของแบบจำลองการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับขั้นตอนที่สอง

2. ผลการวิเคราะห์แบบจำลองประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ )สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย โดยน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะหลักทั้ง 6 คุณลักษณะ มีค่าเป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ทั้งนี้ คุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นคุณลักษณะรวม ให้ความสำคัญกับความสามารถเชิงผลิตภาพและความชำนาญเชิงวิชาชีพเป็นลำดับแรก รองลงมาคือคุณลักษณะด้านการเรียนรู้และการสอน ส่วนคุณลักษณะที่มีความสำคัญลำดับสุดท้ายคือ คุณลักษณะทางสังคม กฎหมายและจริยธรรม

3. ผลการวิเคราะห์กลุ่มพหุ พบว่า แบบจำลองคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนในฝัน กับผู้บริหารโรงเรียนปกติ(ขนาดใหญ่) สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีรูปแบบไม่แปรเปลี่ยนระหว่างลักษณะของสถานศึกษา และเมื่อนำมาวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะหลัก 6 ด้าน โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนในฝันและโรงเรียนปกติ พบว่า น้ำหนักองค์ประกอบมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสถานศึกษา ทั้งในประเด็นของค่าน้ำหนักองค์ประกอบ และลำดับความสำคัญขององค์ประกอบ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย

4. ผลการวิเคราะห์พหุระดับทั้ง 3 ระดับเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย โดยในระดับที่ 1 หรือระดับนักเรียน พบว่า การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ของนักเรียน และการสนับสนุนของผู้ปกครองในการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของรายได้ผู้ปกครอง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

5. ผลการวิเคราะห์พหุระดับ ในระดับที่ 2 หรือระดับห้องเรียน พบว่า การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาวิชาชีพครู มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของภูมิหลังทางเทคโนโลยีของครูไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังพบว่าการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรและการเรียนการสอนของครู ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้จากการวิเคราะห์ระดับที่ 1 ด้วย

6. ผลการวิเคราะห์พหุระดับ ในระดับที่ 3 หรือระดับโรงเรียน พบว่า คุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) ของผู้บริหารและการสนับสนุนของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยของกลยุทธ์และการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า คุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็ก-ทรอนิกส์ (คุณลักษณะของผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) ของผู้บริหาร ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยของการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของครู และค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยของการพัฒนาวิชาชีพครู ที่ได้จากการวิเคราะห์ระดับที่ 2

 

The purposes of this study were to develop, test the goodness of fit and test invariance of the factors of E Leadership characteristics models for basic education principals between school type. The Factors of E-Leadership characteristics models consisted of: 1) leadership and vision 2) learning and teaching 3) productivity and professional practice 4) support management and operation 5) assessment and evaluation 6) social, legal and ethics. Another purpose was, to investigate the multi-level factors, students’ level, classrooms’ level and schools’ level, influencing E-Leadership effectiveness. Students’ factors consisted of: 1) parents’ support of ICT learning 2) parents’ income, and 3) students’ ICT used. Classrooms’ factors consisted of: 1) teachers’ professional development 2) teachers’ ICT background 3) teachers’ ICT integrated in curriculum and teaching. Schools’ factors consisted of: 1) E-Leadership characteristics 2) ICT strategies and policies 3) ICT infrastructures development 4) school board and communities’ support. The samples were acquired by multi-stage sampling, drawn from 35 lab school administrators, 35 large school administrators, 170 Mathayom 2 teachers and 1,700 Mathayom 2 students, totally, there were 1,940 persons. Data collected by 3 versions of questionnaires were used with the samples. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, first and second order confirmatory factors analysis, multiple-group analysis by LISREL 8.72, and the multi-level analysis by HLM 6.02 Student Version. The findings were as follows:

1. The factors of E-Leadership characteristics models for basic education principals, was the second order confirmatory factors analysis model, indicated by composite variable, 6 factors and 31 variables.

2. The factors of E-Leadership characteristics models were fitted with empirical data. The factor loading were positive and significant at .01 level, ranging from the highest factor loading, they were; productivity and professional practice, learning and teaching, finally, social legal and ethic.

3. The form of factors of E-leadership characteristics models invariance between school form, lab school and large school, but the loading and rank of factor were different.

4. For the students’ factors (students’ level), the study found 2 variables that significant positively affected E-Leadership effectiveness at .01 level, the parents’ support of ICT learning and students’ ICT used, but affect of parents’ income did not.

5. For the teachers’ factors (classrooms’ level), the study found 2 variables that significant positively affected E-Leadership effectiveness at .01 and .05 level, teachers’ ICT integrated in curriculum and teaching and teachers’ professional development, but teachers’ ICT background did not. Furthermore, teachers’ ICT integrated in curriculum and teaching positively affected to the slope of students’ ICT used from students’ level analysis.

6. For the principals’ factors (schools’ level), the study found 2 variables that significant positively affected E-Leadership effectiveness at .05 level, E-leadership characteristics and school board and communities’ support, but ICT strategies and policies did not. Furthermore, E-leadership characteristics positively affected to the slope of teachers’ ICT integrated in curriculum and teaching and the slope of teachers’ professional development from classrooms’ level analysis.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles