การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตจากตาลโตนด กรณีศึกษาชุมชนตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา A Model of Conservation and Promotion of Toddy Palm Products : A Case Study of Tambon Paknam Amphur Bangkla in Chachoengsao Province
คำสำคัญ:
ผลผลิตน้ำตาลโตนด, รูปแบบการส่งเสริมและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Toddy palm sugar products, conservation and promotion, local wisdomบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตน้ำตาลจากตาลโตนด เพื่อการส่งเสริมและสืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาการประกอบอาชีพผลิตน้ำตาล โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีถิ่นฐานอยู่ใน 5 หมู่บ้านของตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม การศึกษาภาคสนามสนทนากลุ่ม การสังเกต และการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีปัจจัยภายในที่มีศักยภาพอันเป็นรากฐานสำคัญ 4 ประการ คือ ภาวะผู้นำ (Leadership)โครงสร้างทางสังคม (Structure) ความสามารถในการผลิต(Ability) และวัฒนธรรม(Culture) ในการศึกษาได้นำปัจจัย ภายในชุมชนมาเป็นฐานของการพัฒนาและ นำปัจจัยภายนอกมาเป็นส่วนเสริมในการพัฒนา รูปแบบ รูปแบบการพัฒนาใช้หลักการ 3 ประการ คือ การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community based model) การสร้างกระบวนการการเรียนรู้ (Learning process) และการจัดการความรู้ (Knowledge management) ผลของวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ส่งผล ให้ผลผลิตน้ำตาล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ น้ำตาลสดมาตรฐานเลขที่ มผช. 38/2546 และน้ำตาลโตนดมาตรฐานเลขที่ มผช. 113/2546 ผู้ประกอบอาชีพผลิตน้ำตาล มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนใช้ชื่อว่า “หมู่บ้านน้ำตาลสด” เป็นฐานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ชุมชนสังคม และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นให้มั่นคงต่อไป
The purpose of the thesis was to study the prevailing situation of toddy palm sugar production in an attempt to develop a model of conservation and promotion of palm sugar products for the local tradition and knowledge sustainability. The study was based on the quantitative and qualitative research methodology and key informants were villagers selected as proxies of those having a domicile in five villages of Paknam Sub-District in Bangkla, Chachoengsao. In-dept interview and participatory techniques were adopted for data collection. The main findings could be concluded as follows:
The study showed four key internal factors founded the community was Leadership (L), Structure (S), Abilities (A), and Culture (C). In addition, the external factors were support and promotion from private and public organizations. These factors were implemented in developing a model of conservation and promotion through community-based activities. The model utilized three developmental principles: community-based model, learning process and knowledge management. As result of the development, toddy palm sugar juice and condense toddy palm sugar was awarded certificates of standard community products. This caused awareness among the palm sugar producers, leading to the setting up of a community enterprise named “Toddy Palm Sugar Juice Village” as a source of community economy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา