การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา 2

Main Article Content

ยุพิน อินทะยะ
วลัยพร ทองหยอด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการประถมศึกษา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา 2 โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70  2) เพื่อศึกษาผลการประเมินระดับคุณภาพของแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษาที่ประเมินโดยตนเอง เพื่อนและครูผู้สอนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และ  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและ การประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการประถมศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบประเมินระดับคุณภาพของแฟ้มสะสมผลงาน  แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการแสดงความคิดเห็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (83.07) และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 70) ร้อยละ 13.07  2) ระดับคุณภาพของแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษา ที่ประเมินโดยตนเอง  เพื่อนและครูผู้สอนในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.51) และ  3) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานเป็นไปในเชิงบวก

Article Details

How to Cite
อินทะยะ ย., & ทองหยอด ว. (2018). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา 2. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 25–38. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/99510
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ : ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2556). การใช้แฟ้มสะสมงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาแนวคิดพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาล. นครราชสีมา: สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชมสุภัค ครุฑกะ. (2559). ผลของการใช้แฟ้มสะสมผลงานเพื่อการเรียนรู้ต่อความสามารถในการจัดการความรู้และความพึงพอใจในงานของนักศึกษามหาบัณฑิต. สืบค้นจาก http://www3.ru.ac.th/kmtechnical/kmdata/25541395473859_2554_1379911757_portfolio_to_learn.pdf

นภสร พรหมณี. (2559). แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนลำพระยาประชานุเคราะห์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/napa456780/khxmul-thawpi

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, กุลวดี อภิชาตบุตร, อรอนงค์ วิชัยคำ และ คัทรียา ศิริภัทรางกูร แสนหลวง. (2550). การใช้แฟ้มสะสมงานในการศึกษากระบวนวิชาการบริหารหารพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 1(1), 14–22.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แอลทีเพรส จำกัด.

สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2557). การประเมินผลการสอนรายวิชาโครงงานภาษาอังกฤษโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2560). การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน. สืบค้นจาก https://translate.google.co.th/translate?hl=en&sl=th&u=https://home.kku.ac.th/sompo_pu/spweb/mea surement/portfolio.pptx&prev=search

วรพจน์ แสงสวัสดิ์. (2560). ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องการประเมินผลตามสภาพจริง. สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Woraphot_Saengsawat/Appendix_2.pdf