การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการสอนที่เน้นเนื้อหาร่วมกับประเด็นสาระในท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดการสอนที่เน้นเนื้อหาร่วมกับประเด็นสาระในท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ 13 คน ได้มาโดยการอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินหลักสูตร แบบวัดทักษะการอ่านและทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการสอนที่เน้นเนื้อหาร่วมกับประเด็นสาระในท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ประกอบ ด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สาระของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้ ในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) หลังการทดลองใช้หลักสูตรนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยรวมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ร้อยละ 73.16 และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษร้อยละ 63.03 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญารัตน์ เครือรัตนไพบูลย์ และอังคณา อ่อนธานี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้กลวิธีพหุประสาทสัมผัส สำหรับพนักงานโรงแรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 1-12.
กานต์ยุภา ชุ่มสนิท, ปริญญา ทองสอน และฉลอง ทับศรี. (2564). การพัฒนาหลักสูตรค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(1), 206-218.
กิตติยา เกิดปลั่ง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการเรียนการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาสำหรับผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(2), 17-30.
กีรติกา มาฆะสุข. (2562). การศึกษาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลักสูตร English Program. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(3), 389-398.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562). รายงานประจำปีการศึกษา 2561 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.edu.cmu.ac.th/page/annual
ณฐมน ชมจันทร์ และจิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่นที่เน้นภาระงาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 536-549.
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จันทร์จิรา ไพบูลย์นําทรัพย์, รุ่งไพลิน ฤทธิ์พนา และชิสาพัชร์ ชูทอง. (2562). การออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(3), 397-414.
ธิดากุล บุญรักษา และพรพรรณ โพธิสุวรรณ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 69-84.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2564). เงื่อนไขภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. สืบค้นจาก https://www.grad.cmu.ac.th/grad_wp2/wp-content/uploads/2021/06/Announce-Foreign-64.pdf
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิไลรัตน์ คีรินทร์. (2561). การพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นภาษาอังกฤษโดยการบูรณาการกับรายวิชา วิธีสอนและวิธีวิจัยของนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 13-25.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และชลธิชา หอมฟุ้ง. (2561). การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2551-2563.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรการคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดศึกษาทั่วไปที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(3), 37-53.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรายุทธ สุภะโส และมนตรี วงษ์สะพาน. (2562). การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(2), 35-47.
Chutima, S., Intasingh, S., & Nguenguang, S. (2020). The study of graduate students’ needs in developing English reading and writing skills. Proceedings of the 10th Payap University Research Symposium 2020, 14 February 2020 at Payap University, pp. 218-226. Retrieved from https://symposiumpyu.payap.ac.th/home/?load=content&lang=th&id=0000000055
Herrell, A., & Jordan, M. (2020). 50 Strategies for teaching English language learners. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Hull, T. (2018). Content-based instruction: A communicative approach for the EFL classroom. Pupil: International Journal of Teaching, Education and Learning, 2(3), 63-77.
Kaewpradit, P., Kaewkong, P., & Sinprajakpol, S. (2018). Using content-based instruction to improve students’ English writing. Al-Nur Journal of Graduate School of Fatoni University, 13(24), 79-93.
Khusniyah, N., & Wadi, A. (2020). Investigating content-based reading instruction in promoting students’ reading comprehension: A classroom action research. Research and Innovation in Language Learning, 3(2), 96-106. Retrieved from https://pdfs.semanticscholar.org/f091/c83617be95b5dba6a4f78cdbe8fa8b38daa0.pdf?_ga=2.152624889.1715589570.1648650208-2013753510.1648650208
Krulatz, A. (2019). Content-based instruction in teacher education: Reshaping pre-service teachers’ beliefs about language teaching. English Language Teacher Education and Development, 22(2019), 9-16.
Kunlasuth, K., Chaovanapricha, K., Wutthisivachardkul, J., & Owatnupat, N. (2019). A quality development of Thai youth for the future society through English camp process. Journal of MCU Peace Studies, 7(4), 951-967.
Mantilla, M. & Andrade, C. (2020). Content-based instruction strategies to Improve English major students´L2 writing skills command. Ecos De La Academia, 6(11), 33-49. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/359146742_Content-based_Instruction_Strategies_to_ Improve_English_Major_Students_L2_Writing_Skills_Command
Spenader, A., Wesely, P., & Glynn, C. (2018). When culture is content: Applications for content-based instruction in the world language classroom. Language Teaching Research, 24(4), 476-495.
Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Vanichvasin, P. (2019). Effects of content-based instruction on English language performance of Thai undergraduate students in a non-English program. English Language Teaching, 12(8), 20-29 Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1221232.pdf