ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโครเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน
กลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโคร และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโครและกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 70 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบแมโครเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ 3) แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test แบบ dependent และ t-test แบบ independent
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโครเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโคร
มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กนกวรรณ ศรีนรจันทร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ MACRO Model ผ่านกระบวนการ เรียนรู้ด้วยโครงงานคุณธรรม (Moral Project-Based Learning) น้อมนำแนวทางตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.kksec.go.th/eofficedocs4frontend/03-10-2017-9-16-052017100391557-1835550706.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกสร เถียรสายออ. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนวัดประชานิมิตร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ฐิติกร สังข์แก้ว และอรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2558). ค่านิยม 12 ประการ. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ค่านิยม_12_ประการ
ดวงใจ งามศิริ. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ MARCO Model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 69-80.
ดิเรก วรรณเศียร. (2559). เอกสารประกอบการสอน MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สืบค้นจาก http://regis.dusit.ac.th/images/news/1421308421_MACRO/
เทียนฉาย กีระนันทน์, จรัญ จันทลักขณา, วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, สมคิด พรมจุ้ย, ส่งศักดิ์ ทิตาราม, สรชัย พิศาลบุตร,...,สังวรณ์ งัดกระโทก. (2558). สถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา (Statistics Research and Evaluation in Education) 20302 เล่ม 1 (หน่วยที่ 1-8). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
พงษ์ธลักษณ์ สิบแก้ว. (2562). เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO เรื่อง ระบบประสาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, 26 เมษายน 2562 (น. 667-686). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ฟิกรี กีไร. (2561). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO MODEL ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต).
โรงเรียนเมืองกระบี่. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2561. กระบี่: โรงเรียนเมืองกระบี่.สำนักโฆษก สำนัก
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2557). รายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2557. สืบค้นจาก http://www.thaigov.go.th/index.php/th/program1/item/84701-id84701
สุเทพ อ่วมเจริญ, วัชรา เล่าเรียนดี และประเสริฐ มงคล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 28-46.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2557). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea-
อุษา เหมตะศิลป, ศุภวดี บุญญวงศ์, วรรณี ลิมอักษร, นรา บูรณรัช, ดวงจันทร์ เดชเดชา และณัฐชยา ฐานีสร. (2553). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/240539
Kuder, F. G. and Richardson, M. W. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2(September 1937), 151-160.