พฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการเช่าที่พักในอำเภอเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

ณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์
ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการเช่าที่พักในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 430 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตาตามจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยในอำเภอเมืองเชียงใหม่ แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 3 แห่ง และเอกชน 2 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว เพื่อทดสอบความแตกต่างของพฤติกรรมการเช่าที่พักในอำเภอเมืองเชียงใหม่


ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหม่มีพฤติกรรมการเช่าที่พักโดยพักอาศัยอยู่เพียงคนเดียว เลือกเช่าหอพักภายนอกมหาวิทยาลัย เหตุผลที่เลือกเช่าที่พักเนื่องจากอยู่ใกล้สถานศึกษา และสะดวกในการเดินทาง ตัดสินใจเช่าที่พักด้วยตนเอง หลังจากเห็นที่พัก 1 สัปดาห์ ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ค้นหาข้อมูลที่พักโดยการแนะนำจากคนรู้จัก เมื่อเปรียบเทียบนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการด้านราคา ด้านกระบวนการ และด้านหลักฐานทางกายภาพแตกต่างกัน นักศึกษาที่เลือกเช่าที่พักที่มีราคาค่าเช่าแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์ และด้านหลักฐานทางกายภาพแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สุขพัชราภรณ์ ณ., & กลั่นกลิ่น ป. (2019). พฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการเช่าที่พักในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 213–227. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/223280
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติคุณ บุญมา. (2556). พฤติกรรมการเลือกเช่าที่พักอาศัยที่มีผลต่อส่วนประสมการตลาดบริการของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 3(1), 23 – 31.

ชัยยุทธ์ จูมตะคุ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกเช่าที่พักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรังสิต อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐพงษ์ นักการีย์. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อลูกค้าในการเลือกหอพักในเทศบาล
นครเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ธนัชพร เลิศเดชเดชา. (2557). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกหอพักเอกชนของนักศึกษามหาวิทยาลัย
แม่ฟ้าหลวง. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). สรุปภาวะธุรกิจภาคเหนือไตรมาสที่ 4 ปี 2560 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Northern/DocLib_BLP/2017_Q4_Mo-BLP_NRO.pdf

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). หอพัก-ร้านค้ารอบมหา’ลัยทั่วไทยวูบ นักศึกษาลดกระทบกำลังซื้อ-บ้านเช่าร้างปิดกิจการ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-363493

พจนารถ อิ่มสอน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเช่าอพาร์ทเมนท์ของผู้บริโภคในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 134-144.

ภคมน วิทยปิยานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าลักษณะที่พักของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ลัดดาวัลย์ ประกอบมูล. (2556). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกเช่าหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สืบค้นจาก https://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html

วรากรณ์ สีฮวบ. (2552). การตัดสินใจเลือกหอพักบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. (ปัญหาพิเศษบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการตัดการของหอพักมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 42(4), 856-865.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2553). ความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการออกแบบสอบถาม. สืบค้นจาก https://ruchareka.wordpress.com/2010/05/15/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ลงทุนถูกทาง ทำอพาร์ตเมนต์รวยดั่งใจ ข้อมูลวิจัยพฤศจิกายน 2560. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th

สุนิศา ตรีธนพัฒน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหอพักเอกชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1440-1453.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2560). ข้อมูลสถิติการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.info.mua.go.th

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Engel, J. F., Kollat, D. T. and Blackwell, R. D. (1968). Consumer behavior. New York: Holt Rinehart and Winston.

Hawkins, D. I., Roger, J. B., and Kenneth, A. C. (1998). Consumer behavior: Building marketing strategy. (7th ed.). Boston: McGraw Hill.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control. (14th Global ed.)
Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Solomon, M. R. (2009). Consumer behaviour: Buying, having and being. (8th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.