ผลของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยในรายวิชา CI 3508 กรณี :การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน

Main Article Content

ยุพิน อินทะยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยกรณี: การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการใน 3 มิติ คือ 1. ศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานของนักศึกษา 2. ศึกษาผลงานการออกแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานของนักศึกษา และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน นักศึกษาและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานของครูผู้สอน นักศึกษาและนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน ครูผู้สอนจำนวน 30 คน และนักเรียนจำนวน 431 คน จากโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ครูผู้สอนจำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 181 คน โรงเรียนวัดข่วงสิงห์ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 87 คน และโรงเรียนบ้านโป่งน้อย ครูผู้สอน จำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 163 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน และแบบประเมินผลงานการออกแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานของนักศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากได้คะแนนร้อยละ 87 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ผลงานการออกแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานของนักศึกษาโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( ) =4.49 และ (3) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานโดยภาพรวมเป็นไปในเชิงบวก และมีความพึงพอใจที่มีความถี่สูงสุดคือการจัดกิจกรรมสนุกสนาน นักเรียนมีความสุขในการเรียน ไม่เครียดได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก นักศึกษาและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( =4.50 และ 4.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ ธัญญวลัย บุญประสิทธิ์ และสุนทรี ภิญโญมิตร. (2553). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยบูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (ฉบับพิเศษ), 28-43.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สืบค้นจาก
https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters

ขจร ตรีโสภณากร. (2558). แนวทางการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ประวิทย์ ประมาน. (2560).รูปแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดพระนคร
ศรีอยุธยา สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยธุยา.วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(3), 39-46.

ปราณี อ่อนศรี และสายสมร เฉลยกิตติ. (2556). การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาลเพื่อสร้างความสุข : บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน,พยาบาลทหารบก,14(1), 8-16

พัฒนา บุญญประภา สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และสมศักดิ์ บุญแจ้ง. (2560). การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่.วารสารบัณฑิตวิจัย,8(2). 51-66.

พวงพยอม ชิดทอง และปวีณา โฆสิโต (2560). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้. พิฆเนศวร์สาร, 13(1). 1-11.

รัตนะ บัวสน. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

วิชัย ลิขิตพรรักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยา โดยใช้รูปแบบการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถณะการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิด และการพัฒนากรอบคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset). สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/meemahidol/59-58702179

วิรัช วรรณรัตน์. (2560).ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์เป็นพี่เลี้ยง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1). 25-36.

สมปอง พะมุลิลา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.nurse.ubu.ac.th/new/?q=node/740

สายสมร เฉลยกิตติ จุฑารัตน์ บันดาลสิน กุสุมา กังหลี และพรนภา คำพราว. (2557). การศึกษาการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ต่อการมีจิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, 15(3), 421-429.

สุกัญญา งามบรรจง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษ ที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุธิดา ศรีปลั่ง ณัฐกานต์ ภาคพรต และกาญจนา บุญส่ง. (2559 ). การประเมินการบริหารโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนนำร่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. ในเอกสาร การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6, ณ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช 25 พฤศจิกายน 2559 (น.1-9).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.